การันตีเช็กเบี้ยประกันรถถูกลง 30%

วัคซีนตัวไหนป้องกันโควิดได้ดีที่สุด ?


วัคซีนตัวไหนป้องกันโควิดได้ดีที่สุด ?

      ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรน่า-19 หรือ โควิด-19 ในประเทศไทยยังเป็นที่น่าเป็นห่วงด้วยจำนวนตัวเลขของผู้ที่ติดเชื้อที่มีจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ และมีอัตราการเสียชีวิตที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง สิ่งหนึ่งที่จะช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสและบรรเทาให้อาการหลังได้รับเชื้อไม่รุนแรงเกินไปนั่นคือการรับวัคซีน

 

เชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ที่น่าสนใจ (VOI) และที่น่ากังวล (VOC) คืออะไร?

      ในปัจจุบันองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้มีการอัปเดตข้อมูลเกี่ยวกับสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ที่กำลังมีการระบาดหนักในระดับสากลและอยู่ในข่ายเฝ้าระวัง

เชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ที่น่าสนใจ (Variance of Interest หรือ VOI) เป็นเชื้อที่เพิ่งมีการพบใหม่ และมีการจับตาเพื่อป้องกันการยกระดับความรุนแรงที่อาจจะกลายเป็นเชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวล (VOC) ได้ในภายหลัง เช่น

  • สายพันธุ์สหรัฐอเมริกา (B.1.427/B1.429) หรือ เอปไซลอน (Epsilon)
  • สายพันธุ์บราซิล (B.1.1.28.2 / P.2) หรือ ซีตา (Zeta)
  • สายพันธุ์ที่พบในหลายประเทศ (B.1.525) หรือ เอตา (Eta)
  • สายพันธุ์ฟิลิปปินส์ (B.1.1.28.3 / P.3) หรือ ทีตา/เทตา (Theta)
  • สายพันธุ์สหรัฐอเมริกา (B.1.526) หรือ ไอโอตา (Iota)
  • สายพันธุ์อินเดีย (B.1.617.1) หรือ แคปปา (Kappa)
  • สายพันธุ์เปรู (C.37) หรือ แลมป์ดา (Lambda)
  • สายพันธุ์ฝรั่งเศส (B.1.616)
  • สายพันธุ์เบงกอล (B.1.618 / D614G)

 

เชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variance of Concern หรือ VOC) คือ เชื้อที่มียกระดับและมีแนวโน้มที่มีความรุนแรงสูงขึ้น และลดประสิทธิภาพการทำงานของวัคซีนมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ คือ

  • สายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) หรือ อัลฟา (Alpha)
  • สายพันธุ์แอฟริกาใต้ (B.1.351) หรือ เบตา (Beta)
  • สายพันธุ์บราซิล (B.1.1.28.1 / P.1) หรือ แกมมา (Gamma)
  • สายพันธุ์อินเดีย (B.1.617.2) หรือ เดลตา (Delta)

 

ประกันรถยนต์ชั้น 1 เริ่มต้นเพียง 750

 

เชื้อโควิดกลายพันธุ์ในไทยมีกี่สายพันธุ์?

      จากรายงานกรมสุขภาพจิต เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 ได้รายงานว่าขณะนี้ประเทศไทยได้มีการระบาดของเชื้อโควิด-19 อย่างแพร่หลาย โดยรวบรวมข้อมูลและศึกษาวิจัยรหัสพันธุกรรมและส่งข้อมูลเข้า GISAID เริ่มตั้งแต่ ธันวาคม 2562 จนถึง มิถุนายน 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,521 ตัวอย่างจากทั่วประเทศ วิเคราะห์ออกมาได้เป็น 39 สายพันธุ์ ซึ่งมีทั้งสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาดกันในหลายประเทศ และสายพันธุ์ย่อยที่เกิดขึ้นและสลายไปอย่างรวดเร็ว

โดยภาพรวม ณ ปัจจุบันพบว่า มีการระบาดของเชื้อกลายพันธุ์หลักๆ ทั้งหมด 3 สายพันธุ์

 

เชื้อสายพันธุ์เดลตา (Delta) (B.1.617.2) หรือ สายพันธุ์อินเดีย

      คิดเป็น 63% ของประชากรทั้งประเทศไทยที่ติดเชื้อ และในกรุงเทพมหานคร พบสายพันธุ์เดลตาสูงถึง 77 % และในภูมิภาคอื่นๆ พบประมาณ 47% และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

ลักษณะเด่น : ระบาดเร็ว แพร่เชื้อง่ายขึ้น 60% เชื้อไวรัสสามารถเข้าสู่เซลล์ได้ง่ายขึ้น และสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดี นำไปสู่อาการปอดอักเสบที่เร็วกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมใน 3-5 วัน อาจไม่แสดงอาการแต่ได้รับเชื้อแล้ว

 

สายพันธุ์อัลฟา (Alpha) (B.1.1.7) หรือ สายพันธุ์อังกฤษ

      คิดเป็น 34% ของประชากรทั้งประเทศไทยที่ติดเชื้อ

ลักษณะเด่น : แพร่เชื้อได้ไวกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม (อู่ฮั่น) ถึง 1.7 เท่า หรือประมาณ 40-70 % ติดต่อได้ง่ายขึ้น มีความรุนแรงมากขึ้น มีอัตราการเจ็บป่วย และเสียชีวิตสูงกว่าสายพันธุ์เดิม

 

สายพันธุ์เบตา (Beta) (B.1.351) หรือ สายพันธุ์แอฟริกาใต้

      คิดเป็นประมาณ 3% ของประชากรทั้งประเทศไทยที่ติดเชื้อ

ลักษณะเด่น : ระบาดได้รวดเร็ว แพร่เชื้อได้ไวขึ้นราว 50% ลดประสิทธิภาพของแอนติบอดี้หรือคือสารที่สร้างจากระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ และลดประสิทธิภาพในการทำงานของวัคซีน

 

ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคและป้องกันการติดเชื้อของแต่ละวัคซีน

โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1

  • สายพันธุ์เบงกอล (B.1.618 / D614G)
  • สายพันธุ์อังกฤษ หรือ อัลฟา (B.1.1.7)

ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค

  • Pfizer/BioNTech : 91%
  • Moderna : 94%
  • AstraZeneca : 74%
  • Janssen (Johnson & Johnson) : 72%
  • Sinopham : 73%

ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ

  • Pfizer/BioNTech : 86%
  • Moderna : 89%
  • AstraZeneca : 52%
  • Janssen (Johnson & Johnson) : 72%
  • Sinopham : 65%

กลุ่มที่ 2

  • สายพันธุ์แอฟริกาใต้ หรือ เบตา (B.1.351)
  • สายพันธุ์อินเดีย (B.1.617)
  • สายพันธุ์บราซิล หรือ แกมมา (B.1.1.28.1 / P.1)

ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค

  • Pfizer/BioNTech : 86%
  • Moderna : 89%
  • AstraZeneca : 35%
  • Janssen (Johnson & Johnson) : 64%
  • Sinopham : 47%

ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ

  • Pfizer/BioNTech : 82%
  • Moderna : 85%
  • AstraZeneca : 31%
  • Janssen (Johnson & Johnson) : 57%
  • Sinopham : 41%

      อย่างไรก็ตามการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคก็ยังมีโอกาสที่จะรับเชื้อโควิด-19 และแพร่กระจายอยู่ดี ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของวัคซีนของแต่ละตัวว่าสามารถยับยั้งการติดเชื้อและแพร่กระจายได้เท่าไหร่ และที่สำคัญตัวเราเองก็ต้องรักษาความสะอาด ใส่หน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ และหลีกเลี่ยงการอยู่พื้นที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวกเพื่อลดโอกาสในการรับเชื้อ

 


เขียนโดย : SILKSPAN ADVISOR
เผยแพร่วันที่ : 06/12/2022
โปรโมชั่นแนะนำ
“เช็กเบี้ยประกันรถ เซฟกว่าเดิม 30%”

กำลังโหลด