
ต่อภาษีรถยนต์ 2568 ใช้เอกสารอะไรบ้าง ราคาเท่าไหร่ รวมวิธีต่อภาษีรออนไลน์ง่าย ๆ

การเดินทางไปทำเรื่องสำคัญอย่างการต่อภาษีรถยนต์ หรือ ต่อภาษีรถจักรยานยนต์ ที่กรมการขนส่งทางบกอาจเป็นเรื่องที่หลายคนมองว่ายุ่งยาก เสียเวลา และต้องเสียวันลาไปครึ่งค่อนวัน แต่ในปัจจุบันนี้ไม่ต้องลำบากอีกต่อไป! เพราะคุณสามารถเช็กภาษีรถยนต์ หรือชำระภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ง่าย ๆ ผ่านระบบต่อทะเบียนรถออนไลน์โดยไม่ต้องออกจากบ้านเลย ไม่ว่าคุณจะต้องต่อพ.ร.บ.รถ ควบคู่กับภาษี, เช็กภาษีรถยนต์หมดอายุหรือยัง, หรือแม้แต่ต้องการเช็กภาษีรถออนไลน์ว่าค้างอยู่เท่าไหร่ ก็สามารถทำได้ครบ จบในไม่กี่ขั้นตอน SILKSPAN รวมมาให้ครบที่นี่
Key Takeaways
- ต่อภาษีรถยนต์ต้องมี พ.ร.บ. ไม่หมดอายุ และตรวจสภาพรถ กรณีรถยนต์อายุเกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์เกิน 5 ปี ต้องตรวจสภาพก่อนต่อภาษีทุกครั้ง
- สามารถต่อภาษีล่วงหน้าได้ 90 วัน และหากขาดเกิน 3 ปี ทะเบียนจะถูกระงับทันที แนะนำให้วางแผนต่อภาษีล่วงหน้าเพื่อลดความเสี่ยงโดนค่าปรับหรือเสียสิทธิ์ทางทะเบียน
- ช่องทางต่อภาษีมีหลายรูปแบบ ทั้งออนไลน์ ไดรฟ์ทรู ไปรษณีย์ และเคาน์เตอร์เซอร์วิส เป็นทางเลือกใหม่ที่สะดวกและประหยัดเวลาคือการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ หรือแอป DLT
- ค่าภาษีคิดตามขนาดเครื่องยนต์ พร้อมส่วนลดตามอายุรถ โดยรถยิ่งเก่ายิ่งได้ส่วนลด เช่น รถที่ใช้งานเกิน 10 ปี ได้ลดภาษีถึงครึ่งหนึ่ง
ภาษีรถยนต์ คืออะไร? จำเป็นต้องต่อภาษีทุกปีไหม
ภาษีรถยนต์ คือการจ่ายภาษีในอีกรูปแบบหนึ่งที่ผู้ใช้งานรถยนต์จะต้องทำการจ่ายเป็นประจำทุกปี การจ่ายภาษีรถยนต์ เพื่อเป็นการต่อภาษีรถยนต์ทุกปีนั้น เงินภาษีที่รัฐได้รับก็จะนำเป็นไปเป็นงบประมาณในการใช้เพื่อปรับปรุง หรือพัฒนาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมบนท้องถนนนั่นเอง
หลายคนอาจเคยมีคำถามว่าสามารถต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้ากี่เดือน คำตอบคือการต่อภาษีต้องต่อเป็นประจำทุกปี และขอยื่นต่อล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน หรือ 90 วัน
สำหรับการต่อภาษีรถยนต์นั้น หลายคนมักจะเข้าใจสลับกับการต่อพรบรถยนต์ ซึ่งเป็นประกันรถยนต์ ภาคบังคับ โดยการต่อภาษีรถยนต์นั้นเมื่อทำการต่อเสร็จสิ้นจะได้รับป้ายกระดาษสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่จะระบุวันที่หมดอายุในครั้งถัดไป แต่สำหรับการต่อพรบรถยนต์นั้น จะเป็นการต่อประกันภัยภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พ.ร.บ.รถยนต์ : พรบรถยนต์ คืออะไร คุ้มครองอะไรบ้าง
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการต่อภาษีรถยนต์มีอะไรบ้าง?
การต่อภาษีรถยนต์เป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของรถทุกคนต้องทำเป็นประจำทุกปี เพื่อให้การใช้งานรถยนต์ถูกต้องตามกฎหมาย และหลีกเลี่ยงค่าปรับที่อาจตามมา สำหรับใครที่ยังไม่แน่ใจว่าต่อภาษีรถยนต์ที่ไหน สามารถศึกษาข้อมูลเบื้องต้นที่ควรรู้ก่อนการต่อภาษีรถยนต์ ดังนี้
- การต่อภาษีรถยนต์สามารถทำได้ก่อนที่ภาษีรถยนต์จะหมดอายุล่วงหน้า 90 วัน หรือ 3 เดือน เพื่อวางแผนล่วงหน้าได้อย่างสะดวก
- หากต่อภาษีรถยนต์ช้ากว่าที่กำหนด หลังจาก 1 วันขึ้นไป โดยนับตั้งแต่ 1 – 3 ปี จะถูกคิดค่าปรับ 1% ต่อเดือน หากขาดต่อเกิน 3 ปี จะถูกระงับทะเบียนทันที
- ในกรณีทะเบียนถูกระงับ ต้องคืนป้ายทะเบียนเก่าและชำระค่าปรับก่อนจึงจะออกทะเบียนใหม่ แล้วจึงทำการต่อภาษีรถยนต์ใหม่ได้
- รถยนต์อายุไม่เกิน 7 ปี ไม่ต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษี แต่หากรถเกิน 7 ปี จะต้องตรวจสภาพก่อนเสมอ โดยสามารถต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์สำหรับรถเกิน 7 ปี ได้หากตรวจสภาพเรียบร้อย
- ก่อนต่อภาษีรถยนต์ต้องมีพ.ร.บ. รถยนต์ที่ยังไม่หมดอายุ เพราะถือเป็นหลักฐานสำคัญประกอบการดำเนินการ
- หากสงสัยว่าต่อภาษีรถยนต์ที่ไหนได้บ้าง ปัจจุบันสามารถดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมการขนส่งทางบก หรือใช้บริการผ่านเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเดินทาง
นอกจากนี้ หากคุณกำลังพิจารณาเลือกทำประกันรถยนต์เพิ่มเติม เพื่อความคุ้มครองที่มากขึ้นหลังการต่อภาษี สามารถเปรียบเทียบและเลือกประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันรถยนต์ 2+, หรือประกันรถยนต์ 3+ ได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่าได้รับการคุ้มครองอย่างครอบคลุมทุกสถานการณ์ คุณสามารถเช็กเบี้ยประกันรถยนต์ล่วงหน้าได้เพื่อวางแผนค่าใช้จ่ายก่อนตัดสินใจทำประกัน และอย่าลืมต่ออายุประกันรถยนต์ให้เรียบร้อยทุกปีควบคู่กับการต่อภาษี เพื่อความอุ่นใจในทุกการเดินทาง
ประเภทรถที่ต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีรถยนต์
ก่อนที่จะดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ หรือต่อทะเบียนรถยนต์ เจ้าของรถจำเป็นต้องรู้ว่ารถของตนเองเข้าข่ายต้องตรวจสภาพก่อนหรือไม่ เพราะถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่ส่งผลต่อการอนุมัติการจ่ายภาษีรถยนต์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
โดยทั่วไปแล้วรถที่ต้องตรวจสภาพก่อนการต่อภาษีรถยนต์ ได้แก่
- รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปีขึ้นไป
- รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี
- รถยนต์ดัดแปลง หรือรถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือก (เช่น รถติดแก๊ส LPG/NGV)
- รถยนต์ที่มีการใช้งานในเชิงพาณิชย์บางประเภท เช่น รถแท็กซี่ รถตู้โดยสาร
ในกรณีที่ต้องตรวจสภาพ เจ้าของรถสามารถนำรถเข้ารับการตรวจได้ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก โดยควรตรวจสอบล่วงหน้าก่อนว่าเอกสารที่ต้องใช้มีอะไรบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องมีเอกสารการต่อพ.ร.บ. รถ และสำเนาทะเบียนรถประกอบการดำเนินการ
ประเภทรถที่ไม่ต้องต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีรถยนต์
สำหรับผู้ที่ต้องการต่อภาษีรถยนต์ให้เรียบร้อยโดยไม่ต้องยุ่งยากกับการตรวจสภาพรถ ต้องรู้ก่อนว่ารถของคุณเข้าข่าย “ไม่ต้องตรวจสภาพ” หรือไม่ เพราะสามารถดำเนินการชําระภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ทันที ช่วยประหยัดเวลา และหลีกเลี่ยงขั้นตอนที่ซับซ้อน รถที่ต่อภาษีรถยนต์ได้เลยโดยไม่ต้องตรวจสภาพ ได้แก่
- รถยนต์อายุไม่เกิน 7 ปี
- รถจักรยานยนต์อายุไม่เกิน 5 ปี
- รถที่ไม่มีการดัดแปลงเครื่องยนต์หรือเชื้อเพลิง
ผู้ขับขี่สามารถต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ทันทีผ่านเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก หรือแพลตฟอร์มอื่น ๆ โดยไม่ต้องเดินทางไปสำนักงานขนส่งให้เสียเวลา แต่ก่อนดำเนินการ อย่าลืมต่อ พ.ร.บ. รถให้เรียบร้อย และเตรียมเอกสารให้พร้อม เช่น สำเนาทะเบียนรถและหลักฐานการชำระเงิน เพื่อให้สามารถชำระภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้สะดวกที่สุด
เอกสารที่ต้องใช้สำหรับต่อภาษีรถยนต์ มีอะไรบ้าง?
การต่อภาษีรถยนต์ใช้อะไรบ้าง? เนื่องจากการต่อภาษีจะต้องมีการเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนและถูกต้อง เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาและสามารถดำเนินการให้เสร็จได้ในทันที โดยเอกสารที่จำเป็นในการต่อภาษีรถยนต์ ได้แก่
- สมุดใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์คันที่ต้องการต่อภาษีรถยนต์ สามารถใช้ได้ทั้งตัวจริง และแบบสำเนา
- หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ที่ตรอ. สำหรับรถที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปี (รถยนต์) หรือ 5 ปี (รถมอเตอร์ไซค์)
- ข้อมูลประกันภัยภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. ที่มีวันสิ้นอายุความคุ้มครองไม่น้อยกว่า 90 วัน
ต่อภาษีรถยนต์ได้ที่ไหนบ้าง?
หลายคนอาจทราบกันดีอยู่แล้วว่าการต่อภาษีรถยนต์สามารถดำเนินการและชำระเงินได้ที่กรมการขนส่งทางบก แต่ในปัจจุบันได้มีช่องทางในการดำเนินการที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อมอบความสะดวกสบายและช่วยเพิ่มความรวดเร็วให้กับผู้ใช้งาน โดยสามารถเลือกดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ได้ตามช่องทาง ดังนี้
- กรมการขนส่งทางบก และสำนักงานขนส่งทั่วไทย ไม่ว่ารถยนต์คันนั้นจะจดป้ายทะเบียนไว้ที่จังหวัดใดก็ตาม ก็สามารถยื่นเอกสารเพื่อต่อภาษีได้ทุกพื้นที่
- ห้างสรรพสินค้าที่มีป้าย “Shop Thru for Tax”
- ที่ทำการไปรษณีย์ และเคาน์เตอร์ไปรษณีย์ไทยทั่วประเทศ
- ไดรฟ์ทรู “เลื่อนล้อต่อภาษี” (Drive Thru for Tax)
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ

ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ทางเลือกใหม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิม
ในยุคปัจจุบันนี้ที่เทคโนโลยีได้ถูกพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด โลกออนไลน์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยทำให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ที่ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาในการเดินทางไปกรมการขนส่งทางบกอีกต่อไป เพราะการต่อภาษีรถยนต์สามารถทำได้ง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ดังต่อไปนี้
1.เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก
สามารถเข้าไปต่อทะเบียนรถออนไลน์ และต่อภาษีรถยนต์ได้ที่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th เพียงสมัครสมาชิก ยืนยันตัวตน และกรอกข้อมูลรถให้ครบถ้วน รองรับการชำระภาษีได้ทั้งบัตรเครดิตและ QR Code
2.แอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax Plus
เป็นแอปพลิเคชันอย่างเป็นทางการของกรมการขนส่ง ที่ช่วยให้สามารถเช็กภาษีรถออนไลน์, ตรวจสอบวันหมดอายุ และจ่ายภาษีรถยนต์ได้ทันที อีกทั้งยังสามารถต่อพ.ร.บ.รถ ควบคู่ไปกับการต่อภาษีรถยนต์ได้ในแอปเดียว
ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก
1. เข้าเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf แล้วเลือกบริการ “เลือกลงทะเบียนสมาชิกใหม่”
2. กรอกข้อมูลที่ระบุให้ครบถ้วน ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง จากนั้นกดปุ่ม “บันทึก”
3. เมื่อลงทะเบียนสมาชิกแล้ว ให้ Login เพื่อเข้าใช้บริการ
จากนั้นเลือก “ชำระภาษีรถประจำปี” ในเมนูย่อยเลือก “ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต”
4. กดปุ่ม “ลงทะเบียนรถ”
5. ระบุข้อมูลรถให้ครบ แล้วกดปุ่ม “บันทึก”
6. ข้อมูลรถจะขึ้นที่ตางรางด้านล่าง จากนั้นกดปุ่มที่อยู่ให้ช่องยื่นชำระภาษี
7. ระบุข้อมูลรถให้ครบ แล้วกดปุ่ม “กรอกสถานที่จัดส่งเอกสาร”
8. ระบุที่อยู่ในการจัดส่งเอกสารให้ถูกต้อง จากนั้นกดปุ่ม “เลือกวิธีการชำระเงิน”
9. เลือกวิธีการชำระเงิน โดยสามารถทำได้ 3 วิธี
- หักจากบัญชีเงินฝาก สำหรับผู้ที่มีบัญชีเงินฝากและเป็นสมาชิกใช้บริการโอนเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตกับธนาคาร ซึ่งจะต้องเสียค่าธรรมเนียมธนาคาร 20 บาทต่อรายการ ธนาคารที่ร่วมโครงการได้แก่ ธ.กรุงไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา และ ธ.ยูโอบี
- บัตรเครดิต/บัตรเดบิต โดยคิดค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต 2% รวม Vat 7% ของค่าธรรมเนียม ธนาคารที่ร่วมโครงการได้แก่ ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงศรีอยุธยา
- เคาน์เตอร์บริการ ชำระเงินโดยพิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถ แล้วนำไปชำระเงิน ณ เคาน์เตอร์, ตู้ ATM มีที่ร่วมโครงการ ธ.กรุงไทย, ธ.กรุงเทพ, ธ.ธนชาต, ธ.ก.ส, ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย, ธ.กรุงศรีอยุธย, ธ.ทหารไทย, ธ.ยูโอบี, ธ.ไทยพาณิชย์, บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด, ทรู มันนี่ เซอร์วิส และเทสโก้ โลตัส
10. ตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง จากนั้นกดปุ่ม “ยืนยัน”
ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่น DLT Vehicle Tax
1.1 ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax เพื่อทำการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันได้ทั้ง Android (Google Play Store) และ IOS (App Store)
ช่องทางในการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax
1.2 ลงทะเบียนทำการกรอกข้อมูลของผู้ที่จะชำระภาษีรถ
- กรอกชื่อ – นามสกุล
- อีเมล (สำหรับการรับรหัส OTP ยืนยันตนเอง)
- เลขประจำตัวประชาชน
- เบอร์โทรศัพท์
- เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วกดปุ่ม “กดเพื่อรับรหัส OTP”
1.3 กรอกรหัส OTP
หมายเลข OTP จะทำการส่งผ่านอีเมลที่ระบุเอาไว้ ให้ทำการตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ระบุ และทำการกรอกรหัส OTP ที่ได้รับเพื่อยืนยันตัวตน
หากไม่ได้รับรหัส OTP สามารถกดปุ่ม “ขอรหัส OTP ใหม่” เพื่อให้ระบบทำการส่งรหัสมาให้ใหม่อีกครั้ง
1.4 กรอก PIN CODE 6 หลัก
ตั้งรหัสผ่าน และกรอกรหัส PIN CODE 6 หลัก แล้วทำการกรอกรหัสยืนยันอีกครั้ง สำหรับเป็นรหัสผ่านในการเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax ในครั้งถัดไป
1.5 เลือกรูปแบบการชำระ
ทำการเลือกรูปแบบในการชำระ และต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ซึ่งสามารถเลือกได้ทั้งแบบการ “ชำระภาษีรถตนเอง” และ “ชำระภาษีแทนเจ้าของรถ”
1.6 กรอกเลขประจำตัวประชาชน
กรอกของตนเอง หรือเจ้าของรถ คันที่จะทำการชำระ และต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์แทน
2. เลือกประเภทของรถ
เลือกประเภทของรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ที่ต้องการจะชำระ และต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์
3.กรอกเลขทะเบียนรถ
เมื่อเลือกประเภทเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการกรอกเลขทะเบียนรถ และจังหวัดตามป้ายทะเบียนของรถยนต์คันที่ต้องการจะชำระ และต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์
4. บันทึกข้อมูลประกันภัยรถ (พ.ร.บ.)
กรอก และบันทึกข้อมูลสำหรับต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์
1.ชื่อบริษัทประกันภัย
2.เลขที่กรมธรรม์
3.วันสิ้นสุดความคุ้มครอง
5.1 เลือกช่องทางการรับเอกสาร
สามารถเลือกรับเอกสารได้ทั้งทางการ “พิมพ์เครื่องหมายฯ ที่ตู้ KIOSK” หรือเลือกเป็นการ “ส่งผ่านไปรษณีย์”
5.2 บันทึกข้อมูลสำหรับจัดส่ง
สำหรับผู้ที่เลือกการรับเอกสารทางไปรษณีย์
- กรอกข้อมูลที่อยู่สำหรับการจัดส่ง หากกดบันทึกแล้ว ไม่สามารถแก้ไขได้
สำหรับผู้ที่เลือกพิมพ์เครื่องหมายที่ตู้ KIOSK
- สามารถนำ QR CODE ไปพิมพ์ได้ที่ตู้ KIOSK
6.รายละเอียดการชำระเงิน
ตรวจสอบข้อมูลของการชำระภาษีรถยนต์ให้ถูกต้องก่อนทำการชำระ
7.1 เลือกช่องทางการชำระเงิน
หากเลือกชำระผ่าน “QR CODE”
สามารถ Save รูปเพื่อนำไปชำระผ่านทาง Mobile Banking ของธนาคารที่มี
หากเลือกชำระผ่าน “App SCB”
จะเป็นการกดเพื่อไปทำการจ่ายบิลอัตโนมัติผ่านทาง App SCB Easy
7.2 ชำระภาษีรถ
ชำระภาษีรถยนต์ ตามช่องทางการชำระที่ได้ทำการเลือก
8. รายละเอียดชำระภาษีของคุณ
เมื่อทำการชำระเสร็จสิ้น จะแสดงหน้าต่าง “สิ้นสุดการทำรายการ” และ “สามารถตรวจสอบประวัติการทำรายการ” ได้
9. ตรวจสอบประวัติการชำระ
เมื่อได้ทำการชำระเสร็จสิ้น สามารถตรวจสอบข้อมูลที่ได้ทำการชำระเสร็จสิ้นแล้ว สามารถตรวจสอบวัน และเวลาที่ทำการต่อภาษีได้
10.รอรับเอกสาร
การคิดอัตราภาษีรถยนต์ ปี 2568
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีรถยนต์ราคาเท่าไร มีการคิดค่าใช้จ่ายอย่างไรบ้าง โดยการคิดอัตราภาษีรถยนต์ มีดังนี้
ค่าบริการต่อภาษีรถยนต์ทั่วไป
- ค่าภาษีรถยนต์รายปี แตกต่างกันตามชนิดรถและขนาดเครื่องยนต์
- ค่าส่งเอกสารทางไปรษณีย์ 32 บาทต่อรายการ เฉพาะการต่อภาษีผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมขนส่ง
- ค่าบริการธนาคาร 20 บาทต่อรายการ เมื่อชำระผ่านเคาน์เตอร์หรือตัดบัญชีอัตโนมัติ
- ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต 2% ของยอดรวม พร้อมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
- ค่าปรับจราจร กรณีมีค้างชำระ
ค่าภาษีรถยนต์สำหรับรถส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
คำนวณตามปริมาตรกระบอกสูบ
- ปริมาตรไม่เกิน 600 ซีซี – คิดอัตรา 0.50 บาทต่อซีซี
- ปริมาตร 601 – 1,800 ซีซี – คิดอัตรา 1.50 บาทต่อซีซี
- ปริมาตรเกิน 1,800 ซีซี – คิดอัตรา 4.00 บาทต่อซีซี
สำหรับนิติบุคคลที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจให้เช่าซื้อรถ : อัตราภาษีจะคิดเป็น 2 เท่าของปกติ
ส่วนลดภาษีสำหรับรถเก่าที่ใช้งานมานานเกิน 5 ปี จะลดตามอายุรถ ดังนี้
- เมื่อเข้าสู่ปีที่ 6 – ลด 10%
- เมื่อเข้าสู่ปีที่ 7 – ลด 20%
- เมื่อเข้าสู่ปีที่ 8 – ลด 30%
- เมื่อเข้าสู่ปีที่ 9 – ลด 40%
- ตั้งแต่ปีที่ 10 เป็นต้นไป – ลด 50%
ค่าภาษีรถยนต์ตามน้ำหนักรถยนต์ สำหรับรถส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีเขียว)
สำหรับรถยนต์ขนาดใหญ่ หรือรถบรรทุกส่วนบุคคลที่รองรับผู้โดยสารเกิน 7 คน อย่างเช่น รถกระบะ 2 ประตู, รถบรรทุก, หรือ รถตู้ขนส่งสินค้า การคำนวณภาษีจะอิงตามน้ำหนักรถยนต์ ดังนี้
- น้ำหนักรถ 0-500 กิโลกรัม – ค่าภาษี 300 บาท
- น้ำหนักรถ 501-750 กิโลกรัม – ค่าภาษี 450 บาท
- น้ำหนักรถ 751-1,000 กิโลกรัม – ค่าภาษี 600 บาท
- น้ำหนักรถ 1,001-1,250 กิโลกรัม – ค่าภาษี 750 บาท
- น้ำหนักรถ 1,251-1,500 กิโลกรัม – ค่าภาษี 900 บาท
- น้ำหนักรถ 1,501-1,750 กิโลกรัม – ค่าภาษี 1,050 บาท
- น้ำหนักรถ 1,751-2,000 กิโลกรัม – ค่าภาษี 1,350 บาท
- น้ำหนักรถ 2,001-2,500 กิโลกรัม – ค่าภาษี 1,650 บาท
- น้ำหนักรถ 2,501-3,000 กิโลกรัม – ค่าภาษี 1,950 บาท
ค่าภาษีรถยนต์ตามน้ำหนักรถยนต์ สำหรับรถส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีน้ำเงิน)
สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีขนาดเกิน 7 ที่นั่ง อย่างเช่น รถตู้ การคำนวณราคาสำหรับต่อภาษีรถยนต์จะคิดตามน้ำหนักของรถเช่นเดียวกัน แต่ใช้เกณฑ์อัตราที่แตกต่างออกไป ดังนี้
- น้ำหนักรถไม่เกิน 1,800 กิโลกรัม – ค่าภาษี 1,300 บาท
- น้ำหนักรถเกิน 1,800 กิโลกรัม – ค่าภาษี 1,600 บาท
ค่าภาษีรถที่เก็บเป็นคัน
- รถจักรยานยนต์ (มอเตอร์ไซค์) – ค่าภาษี 100 บาท
- รถบดถนน – ค่าภาษี 200 บาท
- รถแทรกเตอร์เพื่อการเกษตร – ค่าภาษี 50 บาท
- รถพ่วงสำหรับรถจักรยานยนต์ – ค่าภาษี 50 บาท
- รถพ่วงประเภทอื่นๆ (นอกเหนือจากรถจักรยานยนต์) – ค่าภาษี 100 บาท

ถ้าไม่ต่อภาษีรถยนต์จะมีผลอย่างไร?
เพราะการต่อภาษีรถยนต์เป็นเรื่องที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ แต่สำหรับใครที่ไม่ต่อภาษีรถยนต์จะส่งผลกระทบต่อเจ้าของรถทั้งในทางกฎหมายและทางบุคคล ดังนี้
- เสียค่าปรับ หากผู้ขับขี่ต่อภาษีรถยนต์ล่าช้าจะต้องเสียค่าปรับ 1% ต่อเดือนของยอดภาษีรถยนต์ หากปล่อยไว้นานจะยิ่งเพิ่มค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น ดังนั้น ควรหมั่นตรวจเช็กวันหมดอายุของภาษีรถยนต์อย่างสม่ำเสมอ
- ถูกระงับทะเบียนรถยนต์ หากไม่ได้ทำการต่อทะเบียนรถยนต์นานเกิน 3 ปี ทางกรมการขนส่งจะระงับทะเบียนรถยนต์ และหากฝืนใช้รถต่อถือว่าผิดกฎหมาย การกลับมาใช้งานต้องดำเนินการใหม่ทั้งหมด ทั้งการคืนป้ายทะเบียน ทำการชำระภาษีรถยนต์ย้อนหลัง และขอจดทะเบียนใหม่ ส่วนใครที่มีรถไม่ได้ใช้งานชั่วคราว เช่น จอดซ่อม เจ้าของรถสามารถยื่นระงับใช้รถชั่วคราวที่กรมการขนส่งทางบกได้ เพื่อเป็นการแสดงหลักฐานและไม่ต้องเสียภาษีรถยนต์ในช่วงเวลานั้น
- เสียเวลาและเสียค่าใช้จ่าย การที่ไม่ต่อภาษีรถยนต์ นอกจากจะต้องเสียค่าปรับแล้วยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ด้วย เช่น ค่าตรวจสภาพ ค่าป้ายทะเบียนใหม่ รวมถึงค่าเดินทางในกรณีที่ต้องมีการเตรียมเอกสารเพิ่มเติม และต้องเสียเวลาในการเดินทาง
ต่อภาษีรถยนต์ง่าย ๆ แค่ปลายนิ้ว
บริการออนไลน์ดี ๆ ที่ทำให้การต่อภาษีรถยนต์สะดวกและรวดเร็ว สามารถทำได้เองง่าย ๆ ที่บ้าน ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง และสำหรับใครที่ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์เสร็จเรียบร้อย แล้วต้องการทำเรื่องต่ออายุประกันรถยนต์ ก็สามารถเช็กเบี้ยประกันรถยนต์ออนไลน์ และขอคำปรึกษากับ SILKSPAN พร้อมดำเนินเรื่องต่อพ.ร.บ.รถยนต์ง่าย ๆ แถมสะดวกกับ SILKSPAN ทันทีได้เช่นกัน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
- Facebook : SILKSPAN
- Instagram : silkspan
- Line Official : @SILKSPAN
- X (twitter) : SILKSPAN
- Youtube : SILKSPAN