การันตีเช็กเบี้ยประกันรถถูกลง 30%

ต่อภาษีรถยนต์ ได้ที่ไหนบ้าง 2567


ต่อภาษีรถยนต์ ได้ที่ไหนบ้าง 2567

การต่อภาษีรถยนต์ประจำปี นอกจากจะดำเนินการได้ด้วยตัวเองที่สำนักงานขนส่งแล้ว ยังสามารถต่อภาษี ณ ที่ทำการของเอกชนได้อีกหลายแห่งทั่วประเทศ รวมถึงสามารถต่อภาษีในวันเสาร์-อาทิตย์ได้อีกด้วย ซึ่งบทความนี้เรานำมารวบรวมให้ทราบกันครับ

 

การต่อภาษีรถยนต์ มีช่องทางดังนี้

 

ประกันรถยนต์ชั้น 1 เริ่มต้นเพียง 750

 

1. ต่อภาษีรถยนต์ทางออนไลน์

        การต่อภาษีรถยนต์วิธีการต่อภาษีรถยนต์สามารถทำได้หลากหลายทาง ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการต่อภาษีรถยนต์ผ่านทาบออนไลน์ที่ทั้งสะดวก และประหยัดเวลา สามารถศึกษาวิธี และขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ทางออนไลน์ กดอ่านได้ที่นี่

 

2. ต่อภาษีรถยนต์ที่สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ

        การเลือกต่อภาษีรถยนต์ที่กรมการขนส่ง และสำนักงานขนส่งทั่วประเทศก็เป็นอีกทางหนึ่งสามารถทำ โดยการต่อภาษีรถยนต์ที่สำนักงานขนส่งทั่วประเทศมีรายละเอียดหรือประเภทรถ และหลักฐานที่ต้องใช้ดังนี้

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้

  1. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1)
  2. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2)
  3. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3)
  4. รถจักรยานยนต์ (รย.12)
  5. รถแทรกเตอร์ (รย.13)
  6. รถบดถนน (รย.14)
  7. รถพ่วง (รย.16)

หลักฐานที่ใช้ต่อภาษีรถยนต์

  1. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
  2. หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.

ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป)

 

3. ต่อภาษีรถยนต์ได้ที่ทำการไปรษณีย์

        การต่อภาษีรถยนต์ที่ทำการไปรษณีย์ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้สำหรับผู้ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงที่ทำการไปรษณีย์ที่มีอยู่ประจำทุกท้องที่ โดยมีรายละเอียดของประเภทรถยนต์ที่รับต่อภาษี และหลักฐานที่ต้องใช้ดังนี้

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้

  1. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1)
  2. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2)
  3. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3)
  4. รถจักรยานยนต์ (รย.12)
  5. รถแทรกเตอร์ (รย.13)
  6. รถบดถนน (รย.14)
  7. รถพ่วง (รย.16)

หลักฐานที่ใช้

  1. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
  2. หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.
  3. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป)

 

AUTO ALERT - SILKSPAN

 

4. ต่อภาษีรถยนต์ที่ห้างสรรพสินค้า โครงการ “ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)”

        การต่อภาษีรถยนต์ที่ห้างสรรพสินค้าผ่านโครงการ “ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี” ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนทุกคนสามารถต่อภาษีรถยนต์ในห้าง 2567 นอกจากจะสามารถมาเดินทางห้างสรรพสินค้า เลือกซื้อ เลือกกินจนเสร็จแล้วก็ยังสามารถทำเรื่องต่อภาษีรถยนต์ได้ และที่สำคัญรับ “ต่อภาษีรถยนต์วันเสาร์-วันอาทิตย์ได้” โดยมีรายละเอียดเรื่องสถานที่ เวลาเปิดปิด ประเภทรถยนต์ที่สามารถต่อภาษีได้ และหลักฐานที่ต้องใช้ดังนี้

  1. ห้างสรรพสินค้า Big-C 14 สาขา เวลาเปิด 09.00 – 17.00 น. สาขาลาดพร้าว, รามอินทรา, รัชดาภิเษก, *บางปะกอก (ปิด 16.30 น.), เพชรเกษม, สุขาภิบาล3, อ่อนนุช, แจ้งวัฒนะ, สำโรง, *บางบอน (ปิด 16.30 น.), สุวินทวงศ์, สมุทรปราการ, บางใหญ่และบางนา
  2. เซ็นทรัลเวสต์เกต วันเสาร์- อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10:00-17:30 น.
  3. เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ วันเสาร์- อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10:00-17:30 น.
  4. เซ็นทรัลศาลายา วันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10:00-18:30 น.
  5. เซ็นทรัลเวิลด์ วันเสาร์- อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 11:00-18:00 น.
  6. ศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค วันเสาร์ -อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00-17.00 น.
  7. ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค วันเสาร์ -อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00-17.00 น.
  8. ศูนย์บริการร่วมคมนาคม เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เปิดวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้

  1. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1)
  2. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2)
  3. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3)
  4. รถจักรยานยนต์ (รย.12)

หลักฐานที่ใช้

  1. ใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือสำเนา
  2. หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.
  3. หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) เฉพาะรถเก๋ง รถตู้ รถปิคอัพ และรถสองแถวที่จดทะเบียนตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
  4. หนังสือรับรองการตรวจ และทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง รับชำระภาษีรถทั่วประเทศไม่ว่ารถนั้นจะจดทะเบียนไว้ที่จังหวัดใด

 

5. ต่อภาษีรถยนต์ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

        การต่อภาษีรถยนต์ที่ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร หรือ “ธ.ก.ส.” นั้นก็เป็นอีกหนึ่งการอำนวยความสะดวก สำหรับผู้ที่ต้องมาทำธุรกรรมทางการเงินที่ธ.ก.ส.แล้วก็ยังสามารถเลือกต่อภาษีรถยนต์ได้เลยง่ายๆ ในที่เดียวกัน โดยมีรายละเอียดของประเภทรถยนต์ และหลักฐานที่ต้องใช้ดังนี้

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้

  1. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1)
  2. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2)
  3. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3)
  4. รถจักรยานยนต์ (รย.12)

หลักฐานที่ใช้

  1. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
  2. หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.
  3. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป)

เงื่อนไข

  1. เป็นรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระหรือมีภาษีค้างชำระไม่เกิน 1 ปี หรือมีภาษีค้างชำระเกิน 1 ปี ที่นายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
  2. ยื่นขอเสียภาษีประจำปีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนวันครบกำหนดเสียภาษี เว้นแต่รถที่มีภาษีค้างชำระให้ยื่นได้ทันที

 

6. ต่อภาษีรถยนต์ที่จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ

        การต่อภาษีรถยนต์ที่จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสก็เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่สามารถเลือกเข้าไปต่อภาษีรถยนต์ได้เช่นกัน นอกจากจะมีจุดบริการที่ครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว ก็ยังสามารถเลือกจ่ายค่าบริการอื่นๆ ได้ในเวลาเดียวกันที่จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสได้ด้วยเช่นกัน โดยสามารถดูประเภทรถยนต์ที่สามารถทำการต่อภาษีได้ และเงื่อนไขเพิ่มเติมที่ต้องระวังได้ดังนี้

เวลาเปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 7.30 – 15.30 น.

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้

  1. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1)
  2. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2)
  3. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3)
  4. รถจักรยานยนต์ (รย.12)

เงื่อนไข

  1. รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี
  2. รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี
  3. ทางกรมการขนส่งทางบกจะทำการนำส่งใบเสร็จ และป้ายวงกลมทางไปรษณีย์ ตามที่อยู่ที่ท่านระบุภายใน 10 วันนับจากวันที่ชำระเงิน
  4. ค่าบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส 20 บาท และค่าจัดส่งป้ายวงกลม 40 บาท
  5. รถที่มียอดค้างชำระเกินกำหนด 3 ปี ชำระได้ที่กรมการขนส่งทางบกเท่านั้น

 

สรุปต่อภาษีรถยนต์ ที่ไหนได้บ้าง

การต่อภาษีรถยนต์สามารถเลือกต่อได้อย่างหลากหลายช่องทางตามความสะดวกของผู้ใช้งานแต่ละบุคคล โดยสามารถเลือกไปต่อภาษีรถยนต์ได้ยัง 6 ช่องทางดังนี้

  1. การต่อภาษีรถยนต์ทางออนไลน์
  2. การต่อภาษีรถยนต์ที่สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ
  3. การต่อภาษีรถยนต์ที่ที่ทำการไปรษณีย์
  4. การต่อภาษีรถยนต์ที่ห้างสรรพสินค้า
  5. การต่อภาษีรถยนต์ที่ธนาคาร ธ.ก.ส.
  6. การต่อภาษีรถยนต์ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส

ถ้าใครสะดวกช่องทาง และวันเวลาใด ก็สามารถเลือกเข้าไปต่อภาษีรถยนต์ได้เลย การต่อภาษีรถยนต์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับรถยนต์ ถ้าไม่ต่อภาษีรถยนต์ก็จะไม่สามารถทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจได้เช่นกัน ดังนั้นอย่าลืมที่จะต้องทำการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีด้วยทุกครั้ง

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.sanook.com/auto/64181/

 


เขียนโดย : SILKSPAN ADVISOR
เผยแพร่วันที่ : 01/01/2024
โปรโมชั่นแนะนำ
“เช็กเบี้ยประกันรถ
เซฟกว่าเดิม 30%”

กำลังโหลด