ประกันชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 750บาท/เดือน

ต่อภาษีรถยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง รวมวิธีต่อภาษีพรบรถยนต์ออนไลน์อย่างง่าย


ต่อภาษีรถยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง รวมวิธีต่อภาษีพรบรถยนต์ออนไลน์อย่างง่าย

        การเดินทางไปทำเรื่องสำคัญอย่างการต่อภาษีรถยนต์ที่ต้องต่อด้วยตัวเองนั้นอาจเป็นสิ่งที่ยุ่งยาก และเสียเวลาสำหรับใครหลายคน แต่รู้ไหมว่า ตอนนี้เราสามารถทำการต่อภาษีรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ได้โดยไม่ต้องเดินทางไปถึงกรมการขนส่งทางบกแล้ว แถมยังใช้เวลาไม่นาน แค่ดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ก็สามารถต่อได้ทันใจ วันนี้ SILKSPAN ผู้ให้บริการเช็กเบี้ยประกันรถยนต์และต่อประกัน ได้ทำการรวบรวมข้อมูล พร้อมขั้นตอนการต่อประกันออนไลน์ง่าย ๆ มาฝากกัน

 

ภาษีรถยนต์คืออะไร ต้องทำตอนไหน?

        ภาษีรถยนต์ คือการจ่ายภาษีในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ผู้ใช้งานรถยนต์จะต้องทำการจ่ายเป็นประจำทุกปี การจ่ายภาษีรถยนต์ เพื่อเป็นการต่อภาษีรถยนต์ทุกปีนั้น เงินภาษีที่รัฐได้รับก็จะนำเป็นไปเป็นงบประมาณในการใช้เพื่อปรับปรุง หรือพัฒนาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมบนท้องถนนนั่นเอง การต่อภาษีต้องต่อเป็นประจำทุกปี และขอยื่นต่อล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน หรือ 90 วัน

        สำหรับการต่อภาษีรถยนต์นั้น มักจะเป็นคนเข้าใจสลับกับการต่อพรบรถยนต์ ซึ่งการต่อภาษีรถยนต์นั้นเมื่อทำการต่อเสร็จสิ้น ผู้ต่อจะได้รับป้ายกระดาษสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่จะระบุวันที่หมดอายุในครั้งถัดไป แต่สำหรับการต่อพรบรถยนต์นั้น จะเป็นการต่อประกันภัยภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ทุกคันต้องทำไว้ โดยจะออกเป็นลักษณะของเอกสารในกระดาษ A4 เพราะถ้าหากตรวจสอบแล้วว่ารถคันไหนไม่มี จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

 

ประเภทรถที่ต้องมีการต่อภาษีรถยนต์

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) อายุไม่เกิน 7 ปี
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2) อายุไม่เกิน 7 ปี
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) อายุไม่เกิน 7 ปี
  • รถจักรยานยนต์ (รย.12) อายุไม่เกิน 5 ปี
  • เป็นรถที่จดทะเบียนจังหวัดใดก็ได้
  • รถที่ค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี และชำระภาษีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน

 

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับต่อภาษีรถยนต์

เอกสารต่อภาษีรถยนต์

ก่อนจะดำเนินการต่อภาษีทุกครั้ง อย่าลืมตรวจสอบเอกสารที่จำเป็นสำหรับการต่อภาษีรถยนต์ โดยสิ่งที่ต้องเตรียมมีดังนี้

  • สมุดใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ คันที่ต้องการต่อภาษีรถยนต์ สามารถใช้ได้ทั้งตัวจริง และแบบสำเนา
  • หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ ที่ตรอ. สำหรับรถที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปี (รถยนต์) หรือ 5 ปี (รถมอเตอร์ไซค์)
  • ข้อมูลประกันภัยภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. ที่มีวันสิ้นอายุความคุ้มครองไม่น้อยกว่า 90 วัน

 

การชำระเงินเพื่อต่อพรบภาษีรถยนต์ผ่านช่องทางต่างๆ

สามารถเลือกวิธีการต่อภาษีรถยนต์ได้ตามวิธีดังต่อไปนี้

1.กรมการขนส่งทางบก และสำนักงานขนส่งทั่วไทย ไม่ว่ารถยนต์คันนั้นจะจดป้ายทะเบียนไว้ที่จังหวัดใดก็ตาม ก็สามารถยื่นเอกสารเพื่อต่อภาษีได้ทุกพื้นที่

2.ห้างสรรพสินค้าที่มีป้าย “Shop Thru for Tax”

3.ที่ทำการไปรษณีย์ และเคาน์เตอร์ไปรษณีย์ไทยทั่วประเทศ

4.ไดรฟ์ทรู “เลื่อนล้อต่อภาษี” (Drive Thru for Tax) 

5.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

6.เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ

7.เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th

8.แอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax

SILKSPAN LIVE

 

ขั้นตอนการชำระ และต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก

1. เข้าเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf แล้วเลือกบริการ “เลือกลงทะเบียนสมาชิกใหม่”

เลือกลงทะเบียนสมาชิกใหม่

 

2. กรอกข้อมูลที่ระบุให้ครบถ้วน ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง จากนั้นกดปุ่ม “บันทึก”

บันทึก

3. เมื่อลงทะเบียนสมาชิกแล้ว ให้ Login เพื่อเข้าใช้บริการ
จากนั้นเลือก “ชำระภาษีรถประจำปี” ในเมนูย่อยเลือก “ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต”

“ชำระภาษีรถประจำปี” ในเมนูย่อยเลือก “ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต”

4. กดปุ่ม “ลงทะเบียนรถ”

ลงทะเบียนรถ

5. ระบุข้อมูลรถให้ครบ แล้วกดปุ่ม “บันทึก”

บันทึก

6. ข้อมูลรถจะขึ้นที่ตางรางด้านล่าง จากนั้นกดปุ่มที่อยู่ให้ช่องยื่นชำระภาษี

กดปุ่มที่อยู่ให้ช่องยื่นชำระภาษี

7. ระบุข้อมูลรถให้ครบ แล้วกดปุ่ม “กรอกสถานที่จัดส่งเอกสาร”

กรอกสถานที่จัดส่งเอกสาร

8. ระบุที่อยู่ในการจจัดส่งเอกสารให้ถูกต้อง จากนั้นกดปุ่ม “เลือกวิธีการชำระเงิน”

เลือกวิธีการชำระเงิน

9. เลือกวิธีการชำระเงิน โดยสามารถทำได้ 3 วิธี

  1. หักจากบัญชีเงินฝาก สำหรับผู้ที่มีบัญชีเงินฝากและเป็นสมาชิกใช้บริการโอนเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตกับธนาคาร ซึ่งจะต้องเสียค่าธรรมเนียมธนาคาร 20 บาทต่อรายการ ธนาคารที่ร่วมโครงการได้แก่ ธ.กรุงไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา และ ธ.ยูโอบี
  2. บัตรเครดิต/บัตรเดบิต โดยคิดค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต 2% รวม Vat 7% ของค่าธรรมเนียม ธนาคารที่ร่วมโครงการได้แก่ ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงศรีอยุธยา
  3. เคาน์เตอร์บริการ ชำระเงินโดยพิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถ แล้วนำไปชำระเงิน ณ เคาน์เตอร์, ตู้ ATM มีที่ร่วมโครงการ ธ.กรุงไทย, ธ.กรุงเทพ, ธ.ธนชาต, ธ.ก.ส, ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย, ธ.กรุงศรีอยุธย, ธ.ทหารไทย, ธ.ยูโอบี, ธ.ไทยพาณิชย์, บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด, ทรู มันนี่ เซอร์วิส และเทสโก้ โลตัส

เลือกวิธีการชำระเงิน

10. ตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง จากนั้นกดปุ่ม “ยืนยัน”

กดปุ่ม “ยืนยัน”

 

ขั้นตอนการชำระภาษีรถยนต์ออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่น DLT Vehicle Tax

1.1 ทำการโหลดแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax เพื่อทำการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์

โหลดแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax

ช่องทางในการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax

  1. Android (Google Play Store) 
  2. IOS (App Store)

1.2 ลงทะเบียน

ลงทะเบียน

ทำการกรอกข้อมูลของผู้ที่จะชำระภาษีรถ

  1. กรอกชื่อ – นามสกุล
  2. อีเมล (สำหรับการรับรหัส OTP ยืนยันตนเอง)
  3. เลขประจำตัวประชาชน
  4. เบอร์โทรศัพท์

เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วกดปุ่ม “กดเพื่อรับรหัส OTP”

1.3 กรอกรหัส OTP

กรอกรหัส OTP

    หมายเลข OTP จะทำการส่งผ่านอีเมลที่ระบุเอาไว้ ให้ทำการตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ระบุ และทำการกรอกรหัส OTP ที่ได้รับเพื่อยืนยันตัวตน

        หากไม่ได้รับรหัส OTP สามารถกดปุ่ม “ขอรหัส OTP ใหม่” เพื่อให้ระบบทำการส่งรหัสมาให้ใหม่อีกครั้ง

1.4 กรอก PIN CODE 6 หลัก

กรอก PIN CODE 6 หลัก

    ตั้งรหัสผ่าน และกรอกรหัส PIN CODE 6 หลัก แล้วทำการกรอกรหัสยืนยันอีกครั้ง สำหรับเป็นรหัสผ่านในการเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax ในครั้งถัดไป

1.5 เลือกรูปแบบการชำระ

เลือกรูปแบบการชำระ

    ทำการเลือกรูปแบบในการชำระ และต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ซึ่งสามารถเลือกได้ทั้งแบบการ “ชำระภาษีรถตนเอง” และ “ชำระภาษีแทนเจ้าของรถ”

1.6 กรอกเลขประจำตัวประชาชน

กรอกเลขประจำตัวประชาชน

    กรอกของตนเอง หรือเจ้าของรถ คันที่จะทำการชำระ และต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์แทน

2. เลือกประเภทของรถ

เลือกประเภทของรถ

    เลือกประเภทของรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ที่ต้องการจะชำระ และต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์

3.กรอกเลขทะเบียนรถ

กรอกเลขทะเบียนรถ

    เมื่อเลือกประเภทเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการกรอกเลขทะเบียนรถ และจังหวัดตามป้ายทะเบียนของรถยนต์คันที่ต้องการจะชำระ และต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์

4. บันทึกข้อมูลประกันภัยรถ (พ.ร.บ.)

บันทึกข้อมูลประกันภัยรถ (พ.ร.บ.)

    กรอก และบันทึกข้อมูลสำหรับต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์

1.ชื่อบริษัทประกันภัย

2.เลขที่กรมธรรม์

3.วันสิ้นสุดความคุ้มครอง

 

5.1 เลือกช่องทางการรับเอกสาร

เลือกช่องทางการรับเอกสาร

    สามารถเลือกรับเอกสารได้ทั้งทางการ “พิมพ์เครื่องหมายฯ ที่ตู้ KIOSK” หรือเลือกเป็นการ “ส่งผ่านไปรษณีย์”

5.2 บันทึกข้อมูลสำหรับจัดส่ง

บันทึกข้อมูลสำหรับจัดส่ง

สำหรับผู้ที่เลือกการรับเอกสารทางไปรษณีย์

  •     กรอกข้อมูลที่อยู่สำหรับการจัดส่ง หากกดบันทึกแล้ว ไม่สามารถแก้ไขได้

สำหรับผู้ที่เลือกพิมพ์เครื่องหมายที่ตู้ KIOSK

  •     สามารถนำ QR CODE ไปพิมพ์ได้ที่ตู้ KIOSK

6. รายละเอียดการชำระเงิน

รายละเอียดการชำระเงิน

    ตรวจสอบข้อมูลของการชำระภาษีรถยนต์ให้ถูกต้องก่อนทำการชำระ

7.1 เลือกช่องทางการชำระเงิน

เลือกช่องทางการชำระเงิน

หากเลือกชำระผ่าน “QR CODE”

    สามารถ Save รูปเพื่อนำไปชำระผ่านทาง Mobile Banking ของธนาคารที่มี

หากเลือกชำระผ่าน “App SCB”

    จะเป็นการกดเพื่อไปทำการจ่ายบิลอัตโนมัติผ่านทาง App SCB Easy

7.2 ชำระภาษีรถ

ชำระภาษีรถ

    ชำระภาษีรถยนต์ ตามช่องทางการชำระที่ได้ทำการเลือก

8. รายละเอียดชำระภาษีของคุณ

รายละเอียดชำระภาษีของคุณ

    เมื่อทำการชำระเสร็จสิ้น จะแสดงหน้าต่าง “สิ้นสุดการทำรายการ” และ “สามารถตรวจสอบประวัติการทำรายการ” ได้

9. ตรวจสอบประวัติการชำระ

ตรวจสอบประวัติการชำระ

    เมื่อได้ทำการชำระเสร็จสิ้น สามารถตรวจสอบข้อมูลที่ได้ทำการชำระเสร็จสิ้นแล้ว สามารถตรวจสอบวัน และเวลาที่ทำการต่อภาษีได้

10.รอรับเอกสาร

 

รอรับเอกสาร

การต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์สามารถทำล่วงหน้าได้กี่เดือน

        สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ล่วงหน้าได้ก่อนวันถึงวันหมดอายุได้ถึง 3 เดือน หรือ 90 วัน

 

ข้อควรระวังในการต่อภาษีรถยนต์

        สำหรับรถยนต์ที่ต้องการต่อภาษี จะต้องไม่ค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี (ในกรณีที่ค้างชำระเกิน 1 ปี ต้องดำเนินการตรวจสภาพรถใหม่ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือ ตรอ. และต้องยื่นชำระภาษีที่ค้างกับกรมขนส่งเท่านั้น)

1.รถทุกจังหวัดทะเบียน สามารถยื่นต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้

2.รถที่ติดแก๊สทุกชนิด ต้องตรวจสภาพตามประกาศกรมขนส่งทางบก และต้องยื่นชำระภาษีที่กรมขนส่งเท่านั้น

3.รถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่มีอายุเกิน 5 ปี ต้องผ่านการตรวจสภาพรถยนต์ที่ตรอ.เป็นที่เรียบร้อยแล้วก่อน จึงจะสามารถทำการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้

 

การคิดอัตราภาษีรถยนต์

1. ค่าใช้จ่ายต่อภาษีรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 คน เช่น รถเก๋งทั่วไป หรือ กระบะ 4 ประตู

รถยนต์ที่มีป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง มีการคำนวณภาษีรถขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องยนต์ โดยมีอัตราภาษีรถยนต์ต่อ cc ดังนี้

เครื่องยนต์ขนาด  อัตราภาษีต่อ cc
1-600 c.c. 50 สตางค์
601-1800 c.c. 1.50 บาท
1801 c.c. ขึ้นไป 4 บาท

 

2.ค่าใช้จ่ายต่อภาษีรถเก่าจะมีค่าลดหย่อนภาษีรถยนต์

ปีที่ใช้งานรถยนต์ ลดหย่อนภาษีได้กี่ %
ปีที่ 6  10%
ปีที่ 7 20%
ปีที่ 8 30%
ปีที่ 9 40%
ปีที่ 10 และปีต่อๆ ไป 50%

 

3.ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเมื่อใช้ระบบออนไลน์

  • ค่าจัดส่งเอกสาร รายการละ 32 บาท
  • ค่าธรรมเนียมธนาคาร รายการละ 20 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการใช้บัตร (กรณีชำระด้วยบัตรเครดิต) ร้อยละ 2 รวม VAT 7% ของค่าธรรมเนียม

 

สรุปการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์และการต่อพรบรถยนต์

        บริการออนไลน์ดี ๆ ที่ทำให้การต่อภาษีรถยนต์สะดวกและรวดเร็ว สามารถทำได้เองง่าย ๆ ที่บ้าน ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงในช่วงการระบาดของโรคโควิด และสำหรับใครที่ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์เสร็จเรียบร้อย แล้วต้องการทำเรื่องต่ออายุประกัน ก็สามารถเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ออนไลน์ พร้อมดำเนินเรื่องต่อพรบรถยนต์ง่าย ๆ แถมสะดวกกับ SILKSPAN ทันทีได้เช่นกัน

SILKSPAN LIVE

 

การตรวจสอบสถานะหลังดำเนินการต่อภาษีรถยนต์และต่อพรบรถยนต์ออนไลน์

สามารถตรวจสอบสถานะการดำเนินการยื่นชำระต่อภาษีรถยนต์ สถานะการจัดส่งเอกสาร หมายเลข EMS เลขกรมธรรม์ หรือปัญหาจากการยื่นชำระ ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน”

ระยะเวลาทั้งหมดตั้งแต่ชำระเงินค่าภาษีสำเร็จ จนถึงวันที่ได้รับเอกสารจากไปรษณีย์ รวมทั้งสิ้นประมาณ 5 วันทำการ ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินการจากหมายเลข EMS หรือกรณีพบข้อผิดพลาดระหว่างการดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ สามารถตรวจสอบเพิ่มเติมได้ผ่านเว็บไซต์ ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน” เช่นกัน

 

ค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีรถยนต์และต่อพรบรถยนต์ออนไลน์

  • ค่าจัดส่งเอกสาร รายการละ 32 บาท
  • ค่าธรรมเนียมธนาคาร รายการละ 20 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการใช้บัตร (กรณีชำระด้วยบัตรเครดิต) ร้อยละ 2 รวม VAT 7% ของค่าธรรมเนียม

 

 


เขียนโดย : Ecomoney
เผยแพร่วันที่ : 21/12/2022
บริการแจ้งเตือนผ่านช่องทางต่างๆ

กำลังโหลด