ขาดต่อประกันอยู่หรือไม่ ต่อประกันกับ SILKSPAN ลุ้นรับ voucher จาก BigC มูลค่า 100 บาท

เตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนไปต่อ พ.ร.บ. รถยนต์


เตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนไปต่อ พ.ร.บ. รถยนต์

หลายคนอาจจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีกับคำว่า พ.ร.บ. แต่เชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้ความหมายของ พ.ร.บ. ที่แท้จริงนั้นย่อมาจากอะไร และเรามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนที่จะต้องชำระ พ.ร.บ. เพราะส่วนใหญ่แล้วเราต่างรู้กันดีว่าจะต้องชำระภาษีทะเบียนรถยนต์ประจำปี ซึ่ง พ.ร.บ. ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็นจะต้องต่ออายุในทุกปีเช่นเดียวกัน หากคุณเกิดความสงสัยกับสิ่งเหล่านี้ เราพร้อมที่จะไขทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ให้คุณในบทความนี้

พ.ร.บ. รถยนต์ คือ

พ.ร.บ. รถยนต์ คือประกันรถยนต์ภาคบังคับ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยกฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดให้เจ้าของรถที่มีชื่อในเล่มทะเบียนรถยนต์หรือผู้ครอบครองรถในกรณีเป็นผู้เช่าซื้อรถ ต้องทำการต่ออายุในทุกปี นอกจากเป็นสิ่งที่ผู้ใช้รถทุกคนควรจะต้องทำแล้ว พ.ร.บ. รถยนต์ ยังเป็นอีกหนึ่งหลักฐานสำคัญที่มีความจำเป็นในการต่อภาษีรถยนต์ทุกปีอีกด้วย หากไม่ทำตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้จะถือว่ามีความผิดในทันที

โดยใจความสำคัญของ พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ทำออกมาก็เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากการใช้รถ โดยที่ไม่ได้สนว่าบุคคลนั้นจะเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด หรือหากเกิดความเสียหายขึ้น ผู้ที่เป็นฝ่ายเสียหายก็จะได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงรถยนต์อย่างเดียวที่ต้องทำ พ.ร.บ. เพราะไม่ว่าจะเป็นรถมอเตอร์ไซค์ รถบัส หรือรถบรรทุก ต่างก็ต้องทำ พ.ร.บ. เช่นกัน ซึ่งจะมีอัตราเบี้ยประกันคงที่ และมีความแตกต่างไปตามประเภทของรถ และขนาดรถ

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ใช้อะไรบ้าง

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง

สำหรับการทำเรื่องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ในแต่ละครั้ง สามารถเข้าไปติดต่อกรมขนส่งทางบกของแต่ละพื้นที่ หรือช่องทางอื่น ๆ เช่น ที่ทำการไปรษณีย์ ห้างสรรพสินค้า ธนาคารเพื่อการเกษตร จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส และสามารถสมัครผ่าน SILKSPAN ได้เช่นกัน โดยการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ในแต่ละครั้งจะต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนรถ หรือเล่มตัวจริง
  • ใบตรวจสภาพรถจาก ตรอ. (กรณีรถยนต์อายุครบ 7 ปีขึ้นไป)
  • ใบตรวจเช็กสภาพถังแก๊ส (กรณีรถติดแก๊สเท่านั้น)

แจกคู่มือใบขับขี่ใหม่ สอบผ่านในรอบเดียว

วิธีต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ด้วยตัวเอง

วิธีต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ด้วยตัวเอง

ในปัจจุบันนี้วิธีการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ด้วยตัวเองถือว่าเป็นเรื่องที่ง่ายและสะดวกเป็นอย่างมาก เนื่องจากกรมการขนส่งทางบกได้นำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยทำให้เรื่องของการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองผ่านช่องทางออนไลน์ที่มีความหลากหลาย เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้มากยิ่งขึ้น โดยวิธีการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ด้วยตัวเอง ได้แก่

  • ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ กับกรมการขนส่งทางบกโดยตรง สำหรับการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ หรือที่เรียกว่าประกันภัยภาคบังคับ สามารถเดินทางไปยังกรมการขนส่งทางบกของแต่ละแห่งได้ โดยที่จะมีตัวอทนประกันภัยคอยรับผิดชอบและดูแลในการดำเนินเรื่อง เพียงแค่ยื่นสมุดรถพร้อมกับคำร้อง และชำระค่าธรรมเนียมสำหรับการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์
  • ต่อ พ.ร.บ. ผ่านบริษัทตัวแทน เรียกได้ว่านี่คืออีกหนึ่งช่องทางที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เพราะบริษัทตัวแทนได้รับการรับรองจากกรมขนส่งทางบกที่สามารถรับเรื่องและเดินเรื่องของการต่อ พ.ร.บ. และขอภาษีรถได้ 
  • ต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ อีกหนึ่งช่องทางในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ที่เรียกได้ว่าสะดวกสบายและประหยัดเวลาได้เป็นอย่างมาก เพียงแค่ลงทะเบียนยื่นต่อ พ.ร.บ. ผ่าน https://eservice.dlt.go.th พร้อมกับเตรียมข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ให้ครบถ้วน ซึ่งข้อสำคัญของการต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์จะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 90 วัน นับจากวันหมดอายุ หรือต้องทำล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนที่ พ.ร.บ. จะหมดอายุ

อย่าลืมตรวจสภาพรถก่อนไปต่อ พ.ร.บ. รถยนต์

สำหรับการตรวจสภาพรถก่อนต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก แต่ไม่ใช่รถทุกคันที่จะต้องทำการตรวจสภาพรถก่อนต่อ พ.ร.บ. โดยที่จะต้องเป็นรถที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี มีความจำเป็นต้องทำการตรวจสภาพรถก่อนยื่นเรื่องต่อ พ.ร.บ. พร้อมกับภาษีทุกครั้ง แต่ถ้าเป็นรถที่มีอายุการใช้งานไม่ถึง 7 ปี เจ้าของรถสามารถยื่นเรื่องต่อ พ.ร.บ. ได้ในทันที

พ.ร.บ. รถยนต์แต่ละประเภทราคาเท่าไหร่

สำหรับการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นการจ่ายค่าคุ้มครองพื้นฐานก่อนประกันภาคสมัครใจที่จะต้องทำการสมัครด้วยตัวเอง โดย พ.ร.บ. รถยนต์จะให้ความคุ้มครองผู้บาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ ซึ่งจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริง แต่จะไม่ครอบคลุมค่าเสียหายหรือค่าซ่อมแซมอื่น ๆ โดยที่ราคาของรถแต่ละประเภทก็จะมีความแตกต่างกันออกไปตามการประเภทการจดทะเบียนรถอีกด้วย โดยราคาการต่อ พ.ร.บ. ของรถแต่ละประเภท ได้แก่

ราคา พ.ร.บ. รถยนต์

  • รถยนต์โดยสาร ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (พรบ รถเก๋ง) ราคา 600 บาท
  • รถยนต์โดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (พรบ รถเก๋งไฟฟ้า) ราคา 600 บาท
  • รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (พรบ รถตู้) ราคา 1,100 บาท
  • รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง ราคา 2,050 บาท
  • รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง ราคา 3,200 บาท
  • รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 40 ที่นั่ง ราคา 3,740 บาท

ราคา พ.ร.บ. รถกระบะ รถบรรทุก

  • รถยนต์บรรทุก น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน (พรบ รถกระบะ) ราคา 900 บาท
  • รถยนต์บรรทุก น้ำหนักเกิน 3 ตัน แต่ไม่เกิน 6 ตัน ราคา 1,220 บาท
  • รถยนต์บรรทุก น้ำหนักเกิน 6 ตัน แต่ไม่เกิน 12 ตัน ราคา 1,310 บาท
  • รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวมไม่เกิน 12 ตัน ราคา 1,680 บาท
  • รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวมเกิน 12 ตัน ราคา 2,320 บาท

พ.ร.บ. รถยนต์แต่ละประเภทราคาเท่าไหร่

พ.ร.บ. รถยนต์กับภาษีรถยนต์ต่างกันหรือไม่

เชื่อว่าหลายคนคงมีความคิดแบบเดียวกันว่า พ.ร.บ. รถยนต์ และภาษีรถยนต์คือสิ่งเดียวกัน แต่รู้หรือไม่ว่าทั้งสองอย่างนี้ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน โดย พ.ร.บ. รถยนต์จะเป็นการทำประกันภัยภาคบังคับ เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ แต่ภาษีรถยนต์คือการต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปี โดยเงินภาษีที่เสียไปจะถูกนำไปพัฒนาระบบคมนาคมให้ดียิ่งขึ้น

แต่โดยส่วนใหญ่แล้วที่ทำให้หลายคนเกิดความเข้าใจผิดคิดว่า พ.ร.บ. รถยนต์ และภาษีรถยนต์คือสิ่งเดียวกันก็เพราะว่า การดำเนินการต่ออายุของ พ.ร.บ. และภาษี จะต้องถูกดำเนินไปพร้อมกัน หากรถยนต์ไม่ได้มีการต่อ พ.ร.บ. มาก่อนก็จะไม่สามารถต่อภาษีได้ เพราะก่อนที่จะต่อภาษีจำเป็นที่จะต้องใช้เอกสาร พ.ร.บ. แนบไปพร้อมกับการต่อภาษีรถยนต์ เมื่อทำเรื่องต่อภาษีรถยนต์เสร็จเรียบร้อยก็จะได้รับแผ่นป้ายสี่เหลี่ยมไว้สำหรับติดกระจกบริเวณหน้ารถ หรือที่นิยมเรียกกันว่า ป้ายภาษี 

ขาดต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ได้ไม่เกินกี่วัน

สำหรับการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ สามารถทำล่วงหน้าได้สูงสุด 3 เดือน หรือ 90 วัน ก่อนที่ พ.ร.บ. รถยนต์จะหมดอายุ ด้วยความที่เป็นประกันภัยภาคบังคับจึงไม่สามารถปล่อยให้ขาดหรือหมดอายุได้แม้แต่วันเดียว แต่ถ้าหากใครที่ลืมต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ หรือปล่อยให้หมดอายุไปแล้วก็มักจะมีคำถามว่า พ.ร.บ. รถยนต์ขาดได้ไม่เกินกี่วัน 

  • พ.ร.บ. รถยนต์ขาดไม่เกิน 1 ปี หากพบว่ารถของคุณ พ.ร.บ. ขาดไม่เกิน 1 ปี สามารถที่จะทำเรื่องเพื่อต่อภาษีรถยนต์ได้ในทันที โดยที่ไม่ต้องเสียค่าปรับเพิ่มเติม แต่อาจจะโดนปรับในเรื่องของภาษีรถยนต์แทน
  • พ.ร.บ. รถยนต์ขาดเกิน 2 ปีขึ้นไป ในกรณีที่ พ.ร.บ. รถยนต์ ขาดเกิน 2 ปีขึ้นไป ผู้ใช้รถมีความจำเป็นที่จะต้องนำรถเข้าตรวจสภาพ พร้อมดำเนินการเรื่องการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เพื่อต่อทะเบียนและเสียค่าปรับ ซึ่งจะต้องใช้เอกสารสำคัญ ได้แก่ ทะเบียนบ้าน สมุดทะเบียนรถ และสำเนาบัตรประชาชน
  • พ.ร.บ. รถยนต์ขาดเกิน 3 ปีขึ้นไป ในกรณีที่ปล่อยให้ พ.ร.บ. รถยนต์ขาดเกิน 3 ปีขึ้นไป มีโอกาสสูงในการที่จะโดนระงับป้ายทะเบียนรถ และต้องไปจดทะเบียนใหม่พร้อมกับเสียค่าปรับ รวมทั้งอาจมีการเก็บภาษีรถยนต์ย้อนหลังอีกด้วย ซึ่งจะต้องเตรียมเอกสารสำคัญ ได้แก่ ทะเบียนบ้าน สมุดทะเบียนรถ และสำเนาบัตรประชาชน

การปล่อยให้ พ.ร.บ. รถยนต์ขาดอาจทำให้คุณต้องเสียค่าปรับและถือว่าเป็นเรื่องการทำผิดกฎหมาย นอกจากนี้ คุณอาจยังโดนโทษปรับตามกฎหมายจราจรทางบกคือ ปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท และนอกจากจะต้องเสียค่าปรับแล้ว หากในระหว่างที่ใช้รถแล้วมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในระหว่างที่ พ.ร.บ. ขาดอยู่จะส่งผลทำให้คุณไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. รถยนต์

ถ้าไม่ทำ พ.ร.บ. รถยนต์ จะมีโทษปรับหรือไม่

อย่างที่หลายคนทราบกันดีอยู่แล้วว่า พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นประกันภัยภาคบังคับที่ให้ความคุ้มครองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งถ้าหากไม่ทำ พ.ร.บ. รถยนต์ ก็จะมีโทษเป็นค่าปรับ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • เจ้าของรถไม่ทำ พ.ร.บ. รถยนต์ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
  • หากไม่ใช่เจ้าของรถและขับขี่รถคันที่ไม่ได้ทำหรือไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. จะมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
  • หากเป็นเจ้าของรถแล้วไม่ได้ทำ พ.ร.บ. รถยนต์ และนำรถออกมาใช้งานจะถือว่ามีความผิดทั้งสองข้อที่ได้กล่าวไปด้านบน โดยมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

สรุป การเตรียมเอกสารไปต่อ พ.ร.บ. รถยนต์

สุดท้ายนี้ จะเห็นได้ว่าเรื่องของ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่มีความสำคัญและจะขาดไปไม่ได้อย่างเด็ดขาด เพราะ พ.ร.บ. รถยนต์เป็นสิ่งจำเป็นที่รถทุกคนต้องมีและไม่ได้มอบความคุ้มครองแบบย้อนหลัง จึงทำให้หลายคนต้องมีการหมั่นตรวจเช็กวันหมดอายุของ พ.ร.บ. อย่างสม่ำเสมอเพราะการขาดต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ก็จะทำให้คุณไม่สามารถเสียภาษีรถยนต์ได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น หากรู้แล้วว่าใกล้จะถึงวันหมดอายุก็ควรที่จะรีบต่อ พ.ร.บ. ล่วงหน้าเผื่อเอาไว้ พร้อมกับเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน เพื่อทำให้การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์เป็นไปอย่างราบรื่น 

สำหรับใครที่กำลังอยู่ในช่วงที่มองหาประกันรถยนต์ใหม่ สามารถเข้ามาเลือกประกันภาคสมัครใจได้ที่ SILKSPAN เพราะที่นี่ให้คุณสามารถเปรียบเทียบประกันรถยนต์ได้มากกว่า 20 บริษัทประกันชั้นนำที่เลือกได้ตามต้องการ พร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำเบี้ยประกันตามการใช้งานจริง รวมถึงยังมีโปรโมชันส่วนลดอีกมากมายให้คุณประหยัดได้มากกว่า 30% นอกจากนี้ ลูกค้ายังสามารถเลือกได้ว่าจะชำระแบบเต็มจำนวนหรือผ่อน 0% นาน 10 เดือน ได้ทั้งบัตรเครดิต และเงินสดทุกธนาคาร เรียกได้ว่าที่ SILKSPAN พร้อมมอบประกันรถยนต์ที่ดีและตอบโจทย์การใช้งานของคุณได้มากที่สุด


เขียนโดย : SILKSPAN SPECIALIST
เผยแพร่วันที่ : 29/01/2024
รับข้อเสนอพิเศษ
  1. ส่วนลดสูงสุด 30%
  2. แบ่งจ่ายได้สูงสุด 10 เดือน (บัตรเครดิต และเงินสด)
  3. บริการเสริมช่วยเหลือฉุกเฉิน และเบิกค่าเดินทาง
  4. บริการเปรียบเทียบเบี้ยประกันจากบริษัทประกันกว่า 20 แห่ง

กรอกรายละเอียดเพื่อรับข้อเสนอจากพนักงานของเรา

“เช็คเบี้ยประกันรถฟรี 24 ชม.”

กำลังโหลด