การันตีเช็กเบี้ยประกันรถถูกลง 30%

การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ มีขั้นตอนอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง?


การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ

        การซื้อขายรถยนต์มือสอง สิ่งที่จะขาดไปไม่ได้เลยนั่นก็คือ ขั้นตอน “การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ” โดยทั่วไปเมื่อได้มีการตกลง และทำการซื้อขายรถยนต์มือสองระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขายเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ก็จำเป็นที่จะต้องทำการโอนการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของจากชื่อเจ้าของเดิมมาเป็นชื่อเจ้าของใหม่ หรือนั่นก็คือการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของจากผู้ขายมาเป็นผู้ซื้อนั่นเอง สำหรับผู้ใช้งานรถยนต์หลายคนอาจละเลย หรือข้ามขั้นตอนตรงนี้ไป อาจจะด้วยเหตุผลของความสนิทของเจ้าของรถยนต์ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายที่อาจมีความสนิท หรือมีความไว้ใจกัน เมื่อทำการซื้อขายเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็อาจจะไม่ได้ทำการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของให้เสร็จเรียบร้อย ซึ่งถ้าหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น หรือรถยนต์คันดังกล่าวเกิดอุบัติเหตุ หรือเกี่ยวข้องกับคดีความต่างๆ ทางเจ้าของรถที่เป็นชื่อเดิมอาจจะมีเอี่ยวซวยโดยไม่ทันตั้งตัวได้ การมีประกันรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันรถยนต์ชั้น 2+, ประกันรถยนต์ชั้น 3+ หรือประกันรถยนต์ชั้น 3 และไม่ว่าจะเป็นประกันที่ทำกับทางตัวแทน หรือประกันออนไลน์ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาความรุนแรงในกรณีที่เกิดความเสียหาย และอุบัติเหตุขึ้นได้ และเพื่อการขับขี่ที่ปลอดภัย และสร้างความสบายใจในการใช้งานรถยนต์ การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของจากชื่อเจ้าของเดิมเป็นชื่อเจ้าของใหม่นั้นก็เป็นสิ่งที่แนะนำให้ทำเป็นอย่างยิ่ง แล้วการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของนั้นจะต้องมีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง SILKSPAN สรุปมาให้คุณแล้วที่นี่

 

การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ คืออะไร

        การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ เป็นการเปลี่ยนชื่อเจ้าของรถยนต์คันเดิมจากชื่อเจ้าของเดิมมาเป็นชื่อเจ้าของใหม่ เช่นในกรณีที่ทำการซื้อซื้อขายรถยนต์มือสองกัน การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของจะเป็นการเปลี่ยนชื่อเจ้าของรถยนต์จากเจ้าของเดิมที่เป็นผู้ขายมาเป็นเจ้าของใหม่ที่เป็นผู้ซื้อนั่นเอง การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ หรือจะเป็นการส่งต่อรถยนต์ เช่นการส่งต่อรถยนต์ให้กับบุคคลในครอบครัว หรือบุคคลใกล้ชิด ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ของพ่อยกให้ลูก ชื่อเจ้าของรถเป็นชื่อของพ่อก็จะทำการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของจากพ่อมาสู่ลูกเป็นต้น

        การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของจะมีความสำคัญเป็นอย่างมากโดยเฉพาะการดำเนินการ และการดำเนินคดีในทางกฎหมาย หากมีการขายรถยนต์ไปให้เจ้าของใหม่แล้ว หรือมีการส่งต่อรถยนต์ไปให้คนอื่นแล้วแต่ไม่ได้มีการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ และเกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานในเชิงที่ผิดกฎหมาย การดำเนินคดีทางกฎหมายจะทำการดำเนินการผ่านชื่อของเจ้าของรถยนต์ หากไม่มีการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ คนที่ต้องรับความผิดนั้นก็จะเป็นเจ้าของรถเดิมที่ไม่ได้ทำการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของเป็นเจ้าใหม่นั่นเอง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายกับคนรู้จัก หรือเป็นการยกทรัพย์ให้กับคนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิดก็ควรที่จะทำการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของให้เป็นกิจจะลักษณะที่ถูกต้องตามกฎหมายนั่นเอง

 

การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ มีกี่แบบ

        การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของสามารถเลือกได้ทั้งหมด 2 วิธี คือ การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ “แบบโอนตรง” และ การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ “แบบโอนลอย” ซึ่งจะมีขั้นตอนในการดำเนินการที่แตกต่างกันดังนี้

การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของแบบโอนตรง

        การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของแบบโอนตรง สามารถทำได้โดยการที่ให้ “เจ้าของเก่า” และ “เจ้าของใหม่” เดินทางไปติดต่อเพื่อดำเนินการทำเรื่องขอโอนรถกับทางนายทะเบียนที่สำนักงานขนส่งในจังหวัดที่รถคันที่ได้มีการซื้อขายได้มีการจดทะเบียนไว้ และรถยนต์คันดังกล่าวที่จะทำการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของจะต้องมีสภาพตรงกับข้อมูลในใบคู่มือจดทะเบียนรถ หากข้อมูลไม่ตรงจำเป็นต้องไปทำการแก้ไขให้ตรงตามข้อมูลจริง และถ้ารถยนต์ได้ผ่านการดัดแปลงมาก็จำเป็นจะต้องผ่านการตรวจสภาพ และทำการแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติมให้ตรงกับสภาพรถจริง ยกเว้นในกรณีที่ทำการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของจากผู้ให้เช่าซื้อไปยังผู้เช่าซื้อที่เป็นผู้ครอบครองรถตามรายการจดทะเบียนจะไม่จำเป็นต้องนำรถไปตรวจสอบก่อน

การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของแบบโอนลอย

        การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของแบบโอนลอย จะเป็นการโอนรถโดยทางเจ้าของเดิม หรือผู้ที่ขายรถทำการมอบเอกสารให้ไปกับทางเจ้าของใหม่ หรือผู้ซื้อไปทำเรื่องดำเนินการเองหลังจากจบการซื้อขาย โดยจะทำการเซ็นชื่อกำกับไว้ที่เอกสารให้กับทางเจ้าของใหม่ หรือทางผู้ซื้อ การโอนลอยเป็นวิธีที่ค่อนข้างได้รับความนิยม เช่นในหมู่เต็นท์รถมือสองที่ทำการซื้อรถมาเพื่อขายต่อ เพราะเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดเวลาในการดำเนินการของทางเต็นท์รถที่เป็นผู้ขายที่จะคอยดำเนินการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของเมื่อมีผู้ซื้อใหม่มาทำการซื้อต่อ หรือแม้แต่ผู้ขายทั่วไปที่ใช้วิธีการการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของแบบโอนลอยเองก็ยังเป็นวิธีที่เสี่ยงที่รถยนต์คันดังกล่าวอาจมีการไปทำเรื่องผิดกฎหมาย และจะทำให้เจ้าของเดิม หรือเจ้าของเก่าต้องเป็นคนรับผิดชอบ เนื่องจากการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของยังไม่ได้ถูกดำเนินการให้จบ

 

ขั้นตอนการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ

        การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของมีขั้นตอนในการดำเนินการที่ง่าย และไม่ได้ใช้เวลานานเท่าที่คิด สามารถเลือกไปดำเนินการได้ที่สำนักงานขนส่ง เช่น 

สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร

        หากรถยนต์มีทะเบียนที่กรุงเทพมหานคร หรืออยู่ที่กรุงเทพมหานครสามารถเข้าไปดำเนินการที่สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครได้เลย

สำนักงานขนส่งจังหวัด

        หากตัวเจ้าของรถ และรถยนต์อยู่ที่ต่างจังหวัดที่ไม่ใช่กรุงเทพมหานครสามารถเลือกเข้าไปดำเนินการยังสำนักงานขนส่งประจำจังหวัดนั้นที่ได้อาศัยได้เช่นกัน

สำนักงานขนส่งจังหวัดที่มีระบุในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์

        หากมีความสะดวกในการเดินทาง ก็สามารถเลือกที่จะไปดำเนินการที่สำนักงานขนส่งที่ได้ระบุไว้ในใบคู่มือ หรือที่มีของแจ้งใช้รถไว้ก็ได้เช่นกัน

และสามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนดังนี้

  1. ไปยังสำนักงานขนส่งตามที่สะดวก เช่น สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร สำนักงานขนส่งต่างจังหวัดในพื้นที่นั้นๆ หรือจะเป็นสำนักงานขนส่งที่มีการระบุไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถ
  2. นำรถยนต์ที่ต้องการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของเข้ารับการตรวจสภาพรถได้ที่สถานตรวจสภาพรถ หรืออาคารตรวจสภาพรถ ณ สำนักงานขนส่งแห่งนั้นๆ
  3. ติดต่อเจ้าหน้าที่ ทำการยื่นเรื่องโอนเปลี่ยนเจ้าของรถพร้อมเอกสารประกอบ และชำระค่าธรรมเนียม
  4. รอรับเอกสารใบคู่มือจดทะเบียนรถคืน พร้อมรับใบเสร็จรับเงิน เครื่องหมายการเสียภาษี และแผ่นป้ายทะเบียนรถ เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนเสร็จสิ้น

 

        โดยทั่วไปแล้วเมื่อทำการยื่นเรื่องโอนเป็นที่เรียบร้อยแล้วจะใช้เวลารอเล่มภายใน 15 วันทำการ และต้องทำการแจ้งนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่โอน หากไม่ได้ดำเนินการจะมีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท

 

เอกสารการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ

        การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของสามารถโอนรถยนต์ให้ได้กับหลากหลายบุคคล ซึ่งจะมีการใช้เอกสารที่แตกต่างกัน  โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กรณี คือ

เอกสารการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของแบบโอนตรง

        เป็นการที่ทั้งผู้ขายที่เป็นเจ้าของเก่า และผู้ซื้อที่เป็นเจ้าของใหม่เข้าไปดำเนินการโดยตรงด้วยตนเองจะให้เอกสารดังนี้

  • ใบคู่มือจดทะเบียนรถ หรือสมุดจดทะเบียนรถยนต์ – ฉบับจริง
  • สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของรถยนต์คนเก่า และเจ้าของรถยนต์คนใหม่
  • สัญญาการซื้อขาย ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษี
  • แบบคำขอโอน และรับโอน ที่มีลายมือชื่อผู้โอนเจ้าของรถเก่า และผู้รับโอนเจ้าของรถใหม่เรียบร้อยแล้ว

เอกสารการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของกรณีให้ญาติหรือผู้รับมรดก

        จะเป็นการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของแบบที่เป็นการให้รถยนต์ให้กับลูก หรือญาติ

  • ใบคู่มือจดทะเบียนรถ หรือสมุดจดทะเบียนรถยนต์ – ฉบับจริง
  • แบบคำขอโอน และรับโอน ที่มีลายมือชื่อผู้โอนเจ้าของรถเก่า และผู้รับโอนเจ้าของรถใหม่เรียบร้อยแล้ว
  • สัญญาการซื้อขาย ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษี
  • สำเนาใบมรณะบัตรเจ้าของรถในกรณีที่เจ้าของเดิมเสียชีวิต และคำสั่งศาล หรือพินัยกรรมพร้อมสำเนาที่มีการระบุรายละเอียดเรื่องการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของรถยนต์
  • หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ (ผู้ขายที่เป็นเจ้าของเดิม) และของผู้รับมอบ (ผู้ซื้อที่เป็นเจ้าของใหม่)

เอกสารการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของแบบโอนลอย

        จะเป็นการโอนแบบที่ผู้ขายที่เป็นเจ้าของเดิมทำการมอบเอกสารทั้งหมดไปให้ผู้ซื้อที่เป็นเจ้าของใหม่ หรือเต็นท์เป็นฝ่ายไปจัดการเอกสารในการโอนเอง

  • ใบคู่มือจดทะเบียนรถ หรือสมุดจดทะเบียนรถยนต์ – ฉบับจริง
  • สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของรถยนต์คนเก่า และเจ้าของรถยนต์คนใหม่
  • สัญญาการซื้อขาย ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษี
  • แบบคำขอโอน และรับโอน ที่มีลายมือชื่อผู้โอนเจ้าของรถเก่า และผู้รับโอนเจ้าของรถใหม่เรียบร้อยแล้ว
  • หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบ (ผู้ซื้อที่เป็นเจ้าของใหม่)

 

โอนรถใช้เอกสารอะไรบ้าง

 

ตัวอย่างแบบฟอร์มการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ

        ตัวอย่างแบบฟอร์มเอกสารที่สามารถนำไปใช้ในขั้นตอนการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของได้

 

  1. สัญญาซื้อขายรถยนต์

เอกสารการโอนรถ สัญญาซื้อขายรถยนต์ หน้า 1

เอกสารการโอนรถ สัญญาซื้อขายรถยนต์ หน้า 2

ประกันรถยนต์ชั้น 1 เริ่มต้นเพียง 750

 

  1. หนังสือมอบอํานาจโอนรถ

เอกสารการโอนรถ หนังสือมอบอำนาจโอนรถ หน้า 1

เอกสารการโอนรถ หนังสือมอบอำนาจโอนรถ หน้า 2

 

3. แบบคําขอโอนและรับโอน 2556

เอกสารการโอนรถ แบบคําขอโอนและรับโอน 2556 หน้า 1

 

เอกสารการโอนรถ แบบคําขอโอนและรับโอน 2556 หน้า 2

 

ค่าธรรมเนียมการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ

        การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของไม่ว่าจะทำการโอนรถผ่านสำนักงานขนส่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในต่างจังหวัด หรือจะเป็นตามจังหวัดที่ระบุไว้ในเล่มทะเบียน ไม่ว่าจะเป็นที่จังหวัดไหนก็จะมีเกณฑ์ค่าธรรมเนียมที่เหมือนกันดังนี้

  • ค่าคำขอการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ 5 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการโอนรถ 100 บาท
  • ค่าเปลี่ยนเล่มทะเบียน 100 บาท หากเล่มทะเบียนชำรุดเสีย
  • ค่าเปลี่ยนป้ายทะเบียน 200 บาท หากต้องการเปลี่ยน
  • ค่าอากรแสตมป์ 500 บาท ต่อการประเมินราคารถยนต์ 100,000 บาท

 

สิ่งที่ควรระวังในการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ

        สำหรับการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของจะเมื่อได้ดูขั้นตอนการดำเนินการแล้วก็อาจจะดูไม่ค่อยยุ่งยาก แต่ในขั้นตอนการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของนี้ก็ยังจำเป็นที่จะต้องระมัดระวังในบางจุด

1.ความถูกต้องของเอกสาร

        ควรทำการตรวจสอบเอกสารว่ามีครบถ้วนตามที่ต้องใช้ตามลักษณะในการโอน ไม่ว่าจะเป็นการโอนตรง โอนลอย หรือโอนแบบมรดก ทั้งสามแบบล้วนมีการใช้เอกสารที่แตกต่างกัน จำเป็นจะต้องทำการตรวจสอบเอกสารให้เรียบร้อย พร้อมเอกสารลงลายมือชื่อที่อาจต้องการใช้งานในสำหรับการโอนบางกรณีด้วยเช่นกัน

2.สภาพรถยนต์

        สภาพของรถยนต์ที่จะทำการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของจะต้องมีสภาพตรงตามที่มีการระบุไว้ในเล่มทะเบียนรถ ทั้งยี่ห้อ รุ่น สี และรายละเอียดในตัวรุ่นย่อย หากรถยนต์มีความเสียหายควรมีการทำการซ่อมให้เรียบร้อยก่อนการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ หรือถ้าหากรถยนต์ได้มีการผ่านการดัดแปลง หรือตกแต่งรถยนต์เพิ่มในบางส่วนก็ควรมีการนำรถไปตรวจสภาพ และทำการแจ้งเปลี่ยนข้อมูลในเล่มทะเบียนให้ตรงตามข้อมูลจริง ตามสภาพรถจริงในปัจจุบัน

3.โอนรถให้เสร็จเรียบร้อยสบายใจผู้ขาย

        ในบางกรณีเจ้าของเดิมอาจใช้วิธีการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของเป็นแบบการโอนลอย นั่นคือการนำเอกสารเกี่ยวกับรถยนต์ที่มีทั้งหมดส่งให้ทางผู้ซื้อ หรือเจ้าของใหม่ให้ไปดำเนินการทำเรื่องโอนรถแทนเพื่อเป็นการประหยัดเวลา ซึ่งในขั้นตอนนี้หากยังไม่ได้มีการดำเนินการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของให้เรียบร้อย และรถยนต์ได้มีการเกี่ยวข้องกับคดี หรือการผิดกฎหมาย เจ้าของรถเดิมที่มีชื่อเป็นเจ้าของก็มีโอกาสที่จะได้รับความเดือดร้อนไปอีกด้วย

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ

การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของต้องแจ้งนายทะเบียนกี่วัน?

        การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของจำเป็นจะต้องเข้าไปทำการแจ้งต่อนายทะเบียนที่สำนักงานขนส่ง เช่น สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร สำนักงานขนส่งในพื้นที่ที่อยู่ หรือสำนักงานขนส่งในพื้นที่ที่มีระบุไว้ในเล่มทะเบียน จำเป็นจะต้องดำเนินการแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่โอน หากไม่ทำการดำเนินการแจ้งเรื่องต่อนายทะเบียนจะถือว่าผิดกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

สามารถโอนรถเปลี่ยนเจ้าของข้ามจังหวัดได้หรือไม่?

        การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของสามารถเลือกไปดำเนินการที่สำนักงานขนส่งในพื้นที่ได้ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร สำนักงานขนส่งในพื้นที่ที่อาศัย สำนักงานขนส่งในพื้นที่ที่มีการระบุไว้ในเล่มทะเบียน ซึ่งในกรณีที่เป็นสำนักงานขนส่งในพื้นที่ก็สามารถดำเนินการได้แม้จะไม่ใช่จังหวัดที่มีระบุไว้ในเล่มทะเบียนได้เช่นกัน

หากไม่ต่อทะเบียนรถหลังจากโอนเปลี่ยนเจ้าของ จะมีผลเสียอะไรบ้าง?

        เมื่อดำเนินการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของเรียบร้อยแล้ว ก็จำเป็นจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วันนับจากวันที่โอนรถยนต์ หากไม่ได้ทำการต่อทะเบียนในทันทีภายในระยะเวลาที่มีการกำหนดไว้ จะถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย และมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

 

สรุปการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของคืออะไร ต้องทำอย่างไรบ้าง?

        การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของคือขั้นตอนในการเปลี่ยนชื่อเจ้าของรถยนต์จากเจ้าของเดิม หรือผู้ขายไปเป็นเจ้าของใหม่ หรือคือผู้ซื้อ โดยสามารถแยกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของแบบโอนตรงที่ทั้งเจ้าของเก่า และเจ้าของใหม่ต้องเข้าไปดำเนินการโอนที่สำนักงานขนส่ง และการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของแบบโอนลอยที่ทางเจ้าของเก่าจะทำการมอบเอกสารเกี่ยวกับรถยนต์ที่ขายไปให้กับทางเจ้าของใหม่ให้ดำเนินการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของได้ด้วยตนเอง ซึ่งการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของสามารถเลือกสถานที่ได้ตามความเหมาะสม และความสะดวกไม่ว่าจะเป็นสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร สำนักงานขนส่งในพื้นที่ที่อาศัย หรือจะเป็นสำนักงานขนส่งในพื้นที่ที่ระบุไว้ในเล่มทะเบียนรถยนต์ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยทำการเตรียมเอกสารตามเงื่อนไขที่ได้เลือกไว้และนำเข้าไปยื่นเรื่องไว้ และที่สำคัญก็อย่าลืมที่จะยื่นแจ้งเรื่องต่อนายทะเบียนเมื่อได้มีการโอน นับจากวันที่โอน 15 วัน หากเกินกำหนดจะโดนค่าปรับสูงสุด 2,000 บาท

 


เขียนโดย : Ecomoney
เผยแพร่วันที่ : 09/05/2023
โปรโมชั่นแนะนำ
“เช็กเบี้ยประกันรถ เซฟกว่าเดิม 30%”

กำลังโหลด