ทะเบียนรถยนต์ขาดต่อภาษี แจ้งเคลมประกันได้ไหม
อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการชำระภาษีรถยนต์หรือการต่อทะเบียนรถยนต์ทุกปี เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญและห้ามขาดการชำระเป็นอันขาด เพราะหากการผิดชำระภาษีจะมีโทษปรับและมีบทลงโทษสำหรับผู้ที่ขาดต่อทะเบียน ในบทความนี้เราได้รวบรวมทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องทะเบียนรถยนต์ขาดต่อภาษี ทั้งเรื่องทะเบียนขาดประกันจ่ายไหม และอื่น ๆ อีกมากมายในบทความนี้
ทะเบียนรถยนต์ขาดต่อภาษีคืออะไร
สำหรับรถยนต์ที่ขาดการชำระภาษี หรือไม่ได้ต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปี ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าของรถทุกคนที่มีต่อกรมการขนส่งทางบก โดยจะต้องมีหน้าที่ชำระภาษีการใช้รถเป็นประจำทุกปี หากพบว่าทะเบียนขาดหรือไม่ได้ต่อทะเบียนรถประจำทุกปีจะถือว่ามีความผิดและต้องถูกลงโทษตามกฎหมายที่กำหนด ซึ่งความสำคัญของการต่อทะเบียนรถยนต์ก็เปรียบเสมือนกับการต่ออายุให้กับรถของตนเองเพื่อให้สามารถขับขี่ได้บนท้องถนนต่อไป และในจุดนี้เองยังถือเป็นการบังคับให้มีการตรวจสภาพรถเบื้องต้นเพื่อตรวจสอบศักยภาพรถของคุณว่าสามารถใช้งานต่อได้หรือไม่ เพื่อไม่ให้มีโอกาสในการอุบัติเหตุในระหว่างการขับขี่ นอกจากข้อดีของการต่อทะเบียนรถยนต์ตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ยังได้มีมาตรการที่ใช้บังคับสำหรับรถยนต์ที่ไม่ได้ทำการต่อทะเบียนรถยนต์อีกด้วย เพราะหากไม่ได้ต่อทะเบียนรถยนต์นานเกิน 3 ปี ก็จะถูกระงับการใช้งาน ดังนั้น ควรตรวจสอบรถของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้ขาดต่อทะเบียนรถยนต์จะดีที่สุด
ทะเบียนรถยนต์ขาดต่อภาษีมีโทษอะไรบ้าง
สำหรับผู้ที่ขาดการต่อภาษีทะเบียนรถยนต์จะต้องเสียค่าปรับ โดยคิดเป็นร้อยละ 1 ต่อเดือน จากค่าภาษีรายปีที่ต้องจ่าย ยกตัวอย่างเช่น ค่าภาษีรถปีละ 1,500 บาท จะโดนค่าปรับล่าช้าเดือนละ 15 บาท หากขาดต่อภาษีรถยนต์ 3 ปี หรือขาดต่อเป็นระยะเวลาเกิน 3 ปี จะถูกยึดทะเบียนรถและต้องติดต่อกับกรมการขนส่งทางบกเพื่อยื่นเรื่องขอทำป้ายทะเบียนใหม่อีกครั้ง
ทะเบียนขาดประกันจ่ายไหม
ถึงแม้ว่าทะเบียนรถยนต์จะขาดต่อภาษี แต่ประกันรถยนต์ก็ยังให้ความคุ้มครองตามกรมธรรม์แบบ 100% เนื่องจากทางบริษัทประกันรถยนต์จะยึดถือความถูกต้องระหว่างตัวรถคันที่เอาประกันกับรายละเอียดตามเอกสาร เช่น เลขทะเบียน เลขเครื่อง เลขตัวถัง สี และอุปกรณ์ต่าง ๆ หากรายละเอียดดังกล่าวมีความถูกต้องและครบถ้วนจะถือว่าประกันรถยนต์คุ้มครองตามปกติ ดังนั้น หากภาษีรถยนต์ขาดก็ยังไม่มีผลใด ๆ ต่อเรื่องของการเคลมประกัน
ประกันรถยนต์ไม่รับเคลมกรณีไหนบ้าง
สำหรับประกันรถยนต์จะให้ความคุ้มครองในกรณีที่รถขาดต่อภาษีได้ก็จริง แต่ก็ยังมีอีกหลายกรณีที่ประกันรถยนต์สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ หากปัญหาที่ผู้เอาประกันภัยพบเจอไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขของกรมธรรม์ ซึ่งมีกรณีดังต่อไปนี้
1. ไม่มีใบขับขี่
หากผู้เอาประกันภัยไม่มีใบขับขี่ โดยที่ไม่ได้มีการเข้าอบรมหรือสอบใบขับขี่ ประกันรถยนต์จะไม่รับผิดชอบความเสียหายในทุกกรณี โดยจะชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อตัวบุคคลแทน หากผู้เอาประกันภัยมีใบขับขี่แต่หมดอายุก็ยังจะได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขเดิม ซึ่งขอมีแค่ใบขับขี่หรือหลักฐานยืนยันก็สามารถใช้เคลมประกันรถยนต์ได้
2. เมาแล้วขับ
หากผู้เอาประกันภัยตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์แล้วพบว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งตามเงื่อนไขของกรมธรรม์จะไม่คุ้มครองและชดเชยความเสียหายใด ๆ เพราะถือว่าผู้เอาประกันภัยเมาแล้วขับ รวมทั้งยังได้รับโทษทางกฎหมาย จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
3. ใช้รถผิดประเภท
การนำรถยนต์มาใช้ผิดประเภทจากรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแล้วนำไปใช้งานประกอบกิจการเชิงพาณิชย์ เช่น รถขนสินค้า แท็กซี่ ทางประกันรถยนต์จะไม่รับผิดชอบ เนื่องจากเป็นการใช้รถยนต์ไม่ถูกประเภทตามที่ได้ระบุเอาไว้ในเอกสารกรมธรรม์
4. ใช้รถผิดกฎหมาย
การนำรถไปใช้งานผิดกฎหมาย เช่น ขนส่งยาเสพติด โจรกรรม ก่อคดีฆาตกรรม หรือขนอาวุธเถื่อน ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองหรือชดเชยความเสียหายทุกกรณีตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
5. ดัดแปลงสภาพเพื่อการแข่งขัน
การดัดแปลงรถโดยที่ไม่ได้มีการแจ้งกับทางบริษัทประกันจะไม่ได้รับความคุ้มครองหรือชดเชยความเสียหายในทุกกรณี ยกเว้นการดัดแปลงเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพในการขับเคลื่อนรถ เช่น ระบบเบรก ยางรถยนต์ และช่วงล่าง เป็นต้น ยังสามารถแจ้งให้บริษัทประกันรถยนต์รับทราบได้
6. ตั้งใจให้เกิดอุบัติเหตุ
การตั้งใจทำให้เกิดอุบัติเหตุเพื่อหวังเงินชดเชย เช่น ตั้งใจชนคนที่รู้จัก ขับรถชนกำแพง หากบริษัทประกันรถยนต์พิสูจน์แล้วว่าเป็นเรื่องที่สร้างสถานการณ์ขึ้นเอง ซึ่งจะไม่ได้รับความคุ้มครองหรือชดเชยความเสียหายตามเงื่อนไข และอาจถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 358 ฐานทำให้เสียทรัพย์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
7. บรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด
หากความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ ในกรณีนี้เองทางบริษัทประกันรถยนต์จะไม่ได้รับความคุ้มครองและชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องจากเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับเรื่องการบรรทุกน้ำหนักตามข้อบังคับ คปภ.
สรุปบทความทะเบียนรถยนต์ขาดต่อภาษี
สุดท้ายนี้ หลายคนคงได้คำตอบกันอย่างครบถ้วนเกี่ยวกับเรื่องราวของทะเบียนรถยนต์ขาดต่อภาษีกันแล้ว ซึ่งการชำระค่าภาษีเป็นประจำทุกปีเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของตนเองให้ได้มากที่สุด และที่สำคัญอย่างลืมทำประกันรถยนต์เอาไว้เพื่อคุ้มครองและเพิ่มความปลอดภัยตลอดการขับขี่