ขาดต่อประกันอยู่หรือไม่ ต่อประกันกับ SILKSPAN ลุ้นรับ voucher จาก BigC มูลค่า 100 บาท

อย่าเพิ่งซื้อประกันออมทรัพย์เพื่อลดหย่อนภาษี ถ้ายังไม่รู้ 10 เรื่องเหล่านี้


10 สิ่งที่ควรรู้ ก่อนซื้อประกันออมทรัพย์เพื่อลดหย่อนภาษี

เมื่อเข้าใกล้ช่วงเวลาสิ้นปีเช่นนี้ หลาย ๆ คนอาจกำลังวางแผนเที่ยวในช่วงวันหยุดยาว แต่สำหรับบางคนอาจกำลังวางแผนเพื่อจัดการภาษี เพราะใกล้ถึงระยะเวลาที่จะต้องจ่ายเต็มทีแล้ว บทความนี้เราจะพาผู้อ่านทุกท่าน มารู้จักกับ “ประกันออมทรัพย์” หนึ่งในรูปแบบของประกันชีวิต ที่สามารถนำมาใช้เพื่อลดหย่อนภาษีได้ โดยเราได้นำเรื่องน่าสนใจถึง 10 เรื่อง เกี่ยวกับการซื้อประกันออมทรัพย์เพื่อลดหย่อนภาษี ใครที่กำลังมองหาตัวช่วยลดหย่อนภาษี ขอแนะนำเลยว่าบทความนี้มีประโยชน์ต่อตัวคุณแน่นอน

1. ควรต้องรู้ก่อนว่า ประกันออมทรัพย์คืออะไร

ประกันออมทรัพย์ หรือ ประกันเงินออม เปรียบเสมือนลูกผสมระหว่าง การนำเงินไปฝากในรูปแบบของเงินออม และ การนำเงินไปซื้อประกันชีวิต โดยจะมีการส่งเบี้ยประกันให้ครบตามจำนวนเงินที่กำหนดเอาไว้ ตลอดระยะเวลาการส่งเบี้ยประกัน ก็จะมีความคุ้มครองในกรณีเจ็บป่วย หรือ เสียชีวิต ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าหลังจากจ่ายเบี้ยประกันจนครบตามจำนวนแล้ว จะเลือกรับเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยแบบก้อนเดียว หรือ จะรับเป็นเงินปันผลที่จะคืนเงินตลอดระยะสัญญา โดยเงื่อนไขต่าง ๆ จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกรมธรรม์ที่เลือก

2. เข้าใจเงื่อนไขการลดหย่อนของประกันออมทรัพย์

ก่อนอื่นต้องเข้าใจเสียก่อนว่า การทำประกันแบบออมทรัพย์ ถ้าอยากจะนำมาใช้เพื่อลดหย่อนภาษี จะต้องเป็นประกันที่มีระยะเวลาความคุ้มครองเกินกว่า 10 ปีเป็นต้นไป โดยสามารถใช้เบี้ยประกันมาลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท ต่างจากประกันสุขภาพ ที่สามารถลดหย่อนตามจริงได้ไม่เกิน 25,000 บาท กรณีที่มีประกันทั้งสองรูปแบบ สามารถนำเบี้ยประกันมาลดหย่อนรวมกันได้ แต่จะต้องไม่เกินกว่า 100,000 บาท

3. ความมั่นคงของบริษัทประกันที่ให้บริการ

ถึงประกันออมทรัพย์จะเป็นการลงทุนที่ถูกมองว่า “มีความเสี่ยงต่ำ” ไม่เหมือนกับการลงทุนในประเภทอื่น แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีความเสี่ยงเลยซะทีเดียว สิ่งที่ควรไตร่ตรองให้ดีก่อนจะเลือกซื้อ คือ “ความมั่นคง” ของบริษัทประกัน เนื่องจากเราจะต้องจ่ายเบี้ยประกันในระยะยาว ถ้าเลือกซื้อประกันกับบริษัทที่ไม่น่าเชื่อถือ อาจทำให้การลงทุนในครั้งนี้เป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำก็เป็นได้

10 สิ่งที่ควรรู้ ก่อนซื้อประกันออมทรัพย์เพื่อลดหย่อนภาษี

4. ศึกษาเบี้ยประกัน และ ความคุ้มครองของประกันออมทรัพย์

ไม่ว่าอย่างไรต้องอย่าลืมว่า ประกันออมทรัพย์ก็ยังคงต้องจ่ายเบี้ยประกัน เพื่อแลกมากับความคุ้มครองด้านสุขภาพ เพราะฉะนั้นควรเลือกกรมธรรม์ ที่มีเบี้ยประกันที่สามารถจ่ายไหวแบบตลอดรอดฝั่ง เพราะถ้าวันหนึ่งเกิดจ่ายเบี้ยประกันไม่ไหวขึ้นมา ความคุ้มครองที่จะได้รับก็จะเป็นอันสิ้นสุด รวมไปถึงสิทธิประโยชน์ด้านภาษีก็จะไม่สามารถนำไปลดหย่อนได้อีกด้วย

5. ระยะเวลาการฝากเงินของประกันแบบออมทรัพย์

เมื่อมองประกันออมทรัพย์เป็นการลงทุน เราควรชั่งใจว่าการซื้อประกันครั้งนี้จะเลือกเป็น การลงทุนระยะสั้นหรือระยะยาว เราจะไม่ขอบอกว่าแบบไหนดีกว่ากัน เพราะแต่ละคนก็จะมีจุดมุ่งหมายของการลงทุนที่แตกต่างกัน ในส่วนของระยะเวลาจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ “ระยะเวลาชำระเบี้ยประกัน” และ “ระยะเวลาความคุ้มครอง” เช่น ประกันแบบออมทรัพย์จากบริษัท A มีระยะเวลาชำระเบี้ยประกัน 5 ปี แต่ให้ระยะเวลาความคุ้มครอง 14 ปี เป็นต้น

แจกคู่มือใบขับขี่ใหม่ สอบผ่านในรอบเดียว

6. อัตราดอกเบี้ยของเงินฝากเอาไว้

เนื่องจากจุดเด่นของประกันเงินออม คือการที่สามารถฝากเงินพร้อมกับได้รับความคุ้มครองไปพร้อม ๆ กัน และเมื่อมีการฝากเงินย่อมสามารถคาดหวังได้ถึง “ดอกเบี้ย” แต่ประกันออมทรัพย์โดยส่วนมาก จะไม่มีการกล่าวถึงในส่วนของอัตราดอกเบี้ย แต่จะใช้คำว่า “ผลตอบแทน” ซึ่งอัตราผลตอบแทนโดยเฉลี่ย ของประกันแบบออมทรัพย์จะอยู่ที่ 2% ถึง 3% ต่อปี โดยรูปแบบการได้รับผลตอบแทน จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละกรมธรรม์

7. เงื่อนไขการเวนคืนกรมธรรม์

การซื้อประกันออมทรัพย์เหมาะสำหรับผู้ที่ถือครอง “เงินเย็น” ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำเงินส่วนนี้ไปใช้ เพราะขั้นตอนการเวนคืนค่อนข้างใช้เวลานาน ไม่สามารถนำเงินออกมาใช้ได้ในทันที เหมือนกับการฝากเงินในธนาคาร  เงินที่ได้จากการเวนคืนก็อาจจะไม่ได้เต็มจำนวนที่จ่ายไป และในช่วงปีแรก ๆ ของการจ่ายเบี้ยประกัน อาจไม่สามารถเวนคืนกรมธรรม์ได้เลยก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละกรมธรรม์ที่กำหนดเอาไว้

8. “มีเงินคืน” หรือ “ไม่มีเงินคืน” แบบไหนเหมาะสมกับที่สุด

อย่างที่เรากล่าวไปแล้ว ว่าประกันแบบออมทรัพย์ค่อนข้างมีตัวเลือกที่หลากหลาย ซึ่งในบางกรมธรรม์จะเป็นประกันออมทรัพย์แบบ “ได้เงินคืน” โดยจะมีการจ่ายเบี้ยประกันคืนบางส่วน เมื่อจ่ายเบี้ยประกันในระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้ เช่น คืนเงินทุก 2 ปี จำนวน 5% หรือ คืนเงินทุกปีในจำนวน 3% เป็นต้น ทว่าในด้านของความคุ้มครอง โดยส่วนมากแล้วประกันแบบ “ไม่ได้เงินคืน” ที่จะจ่ายเป็นเงินก้อน จะให้วงเงินความคุ้มครอง ที่สูงกว่าอย่างเห็นได้ชัด

9. เข้าใจเงื่อนไขในด้านสุขภาพของประกันที่ต้องการซื้อ

เมื่อเจอโฆษณาของประกันออมทรัพย์ หรือ ประกันสุขภาพ เรามักจะเจอคำว่า “ไม่ต้องตรวจสุขภาพ” หรือ “ไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ” นี่เป็นอีกหนึ่งจุดที่สำคัญเป็นอย่างมาก ต้องเข้าใจเงื่อนไขส่วนนี้ให้ละเอียด เพื่อเลี่ยงความเสียเปรียบในภายหลัง เพราะเคยมีเคสที่บริษัทประกันภัยปฏิเสธความคุ้มครอง เพราะอ้างว่าผู้เอาประกันมีปัญหาสุขภาพ ก่อนทำประกันมาก่อนแล้ว หรือ มีการบิดเบือนในการตอบคำถามสุขภาพ เป็นต้น

10. เข้าใจถึงเป้าหมายที่แท้จริงของการซื้อประกันออมทรัพย์

ไม่ใช่แค่ “ประกันออมทรัพย์” ที่ลดหย่อนภาษีได้ ยังมีตัวเลือกอื่น ๆ อีกมากมาย ที่สามารถนำมาใช้เพื่อลดหย่อนภาษี เช่น ประกันสุขภาพ หรือ การลงทุนในกองทุน เพราะฉะนั้นควรต้องลองประเมินความต้องการของตนเองให้ดีเสียก่อน เนื่องจากบางคนมีความคุ้มครองในรูปแบบประกันชีวิตอื่น ๆ อยู่แล้ว การลงทุนจ่ายเบี้ยประกันแบบออมทรัพย์เพื่อลดหย่อนภาษี อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุดเสมอไปก็เป็นได้

 

บทส่งท้าย

การซื้อประกันออมทรัพย์ เพื่อคาดหวังถึงสิทธิประโยชน์ด้านภาษี ถือว่าเป็นการลงทุนที่ดีในระยะยาว แต่ไม่ได้เหมาะสมกับทุกคนเสมอไป ก่อนจะตัดสินใจควรทำความเข้าใจกับ 10 เรื่องที่เรานำเสนอไปเสียก่อน เพราะทุกการลงทุนมีความเสี่ยง สุดท้ายนี้อีกหนึ่งประกันภัย ที่เราอยากให้ทุกคนซื้อเอาไว้ ถึงจะไม่สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ก็ตามคือ “ประกันภัยรถยนต์” สำหรับผู้ที่ต้องใช้รถอยู่เป็นประจำ เพื่อความอุ่นใจทุกครั้งเมื่อต้องนั่งอยู่หลังพวงมาลัย

หากคุณกำลังมองหาประกันภัยรถยนต์ แต่ยังไม่รู้ว่าจะซื้อที่ไหนดี ? สามารถเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ล่วงหน้ากับ SILKSPAN ได้แล้ววันนี้ เพียงกรอกข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้านล่างของบทความนี้ จากนั้นทีมงานของเราจะทำการติดต่อกลับไป เพื่อเสนอประกันที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุด พร้อมด้วยสิทธิพิเศษอื่น ๆ อีกมากมาย


เขียนโดย : SILKSPAN ADVISOR
เผยแพร่วันที่ : 25/11/2024
โปรโมชั่นแนะนำ
“เช็คเบี้ยประกันรถฟรี 24 ชม.”

กำลังโหลด