การันตีเช็กเบี้ยประกันรถถูกลง 30%

ประกันรถยังให้ความคุ้มครองไหม ในกรณีที่ขับรถลุยน้ำท่วมมา


หลังขับรถลุยน้ำท่วม ต้องเช็คอะไรบ้าง ประกันรถเคลมได้ไหม ถ้าเสียหาย

ปัญหาอุทกภัยยังคงเป็นปัญหา ที่ทำให้คนไทยในหลาย ๆ พื้นที่จะต้องใจตุ๊ม ๆ ต่อม ๆ ทุกครั้งที่เข้าสู่ฤดูฝน โดยในปี 2567 มีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมมากกว่า 12,000 ครัวเรือน หากคุณจำเป็นจะต้องขับรถลุยในบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง และสุ่มเสี่ยงที่รถจะเกิดความเสียหาย หลังจากขับผ่านมาได้แล้ว เราอยากให้คุณได้ลองเช็คตัวรถเสียก่อน ว่ามีความเสียหายจุดไหนหรือไม่ เพื่อจะได้แจ้งบริษัทประกันภัยรถยนต์ตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งจุดที่ควรต้องเช็คจะมีอะไรบ้าง ไปชมกันเลย !

 

6 สิ่งที่ควรตรวจสอบทันที หลังขับรถลุยน้ำท่วม เพื่อไม่ให้มีปัญหาเวลาเคลมประกันรถ

จากที่เราได้เกริ่นไปแล้ว ว่าช่วงเวลานี้ปัญหาน้ำท่วมขัง กำลังกระจายในหลาย ๆ พื้นที่ หากคุณจำเป็นจะต้องขับรถลุยเส้นทางที่มีน้ำท่วมขัง เราอยากให้คุณรีบเช็คตัวรถ ในจุดที่สุ่มเสี่ยงต่อการเสียหายจากการขับรถลุยน้ำ เผื่อในกรณีที่มีความเสียหายต่อตัวรถ จะได้รีบแจ้งกับบริษัทประกันรถยนต์ เพื่อรักษาสิทธิ์ที่จะได้รับความคุ้มครองในส่วนนั้น ๆ โดยมี 6 จุดที่เราอยากให้สังเกตเป็นพิเศษ ดังนี้

1. การรั่วซึมภายในห้องโดยสาร

เชื่อว่าเมื่อขับรถลุยน้ำท่วม สิ่งแรก ๆ ที่เจ้าของรถทุกคันกังวล น่าจะเป็นเรื่องของการที่น้ำซึมเข้ามาภายในห้องโดยสาร ซึ่งตามจริงแล้วน้ำสามารถเข้ามาได้จากหลายจุด อาทิเช่น ท่อน้ำทิ้งแอร์ที่รั่ว , ยางบริเวณขอบประตูชำรุด , จุกยางพื้นรถหลุด หรือ พลาสติกบริเวณซุ้มล้อมีรอยแตก เมื่อน้ำเข้ามาแล้ว รถของเราก็ไม่ต่างอะไรจากตู้ปลาติดล้อ ถ้าในเคสนี้ควรต้องเช็คจุดเสี่ยงต่าง ๆ ทันทีหลังจากผ่านการลุยน้ำท่วมมาแล้ว หากพบว่ามีบริเวณไหนมีความชื้น หรือ มีร่องรอยของน้ำที่ซึมเข้ามา ควรรีบดำเนินการแก้ไขให้เร็วที่สุด

2. ระบบปรับอากาศ

เรื่องสำคัญที่ทุกคนควรรู้ ! เมื่อขับรถลุยบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง สูงจนเกือบถึงใต้ท้องรถ ควรปิดระบบปรับอากาศภายในรถทันที และ ควรจะขับขี่ให้ช้าที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำกระเด็นขึ้นมาสัมผัสกับใต้ท้องรถ เนื่องจากอาจทำให้น้ำเข้ามาภายในระบบปรับอากาศ ส่งผลให้ชิ้นส่วนบางอย่างเสียหาย หรือ อาจทำให้มีกลิ่นอับชื้นภายในระบบปรับอากาศ การเช็คระบบปรับอากาศก็ง่าย ๆ หลังจากลุยน้ำท่วมมาแล้ว ลองเปิดระบบปรับอากาศจากนั้นมองหาสิ่งผิดปกติ ซึ่งมักจะมาในรูปแบบเสียงสั่นแปลก ๆ ที่ปกติไม่เคยได้ยิน

ประกันรถยนต์ชั้น 1 เริ่มต้นเพียง 750

3. จาระบีบริเวณลูกปืนล้อ

บริเวณล้อของรถยนต์ทุกคัน จะมีชิ้นส่วนเล็ก ๆ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากคือ “ลูกปืนล้อ” ซึ่งทำหน้าที่ลดแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างการขับขี่ บริเวณลูกปืนจะมีจาระบีเป็นสารหล่อลื่น ในขณะที่ขับรถลุยน้ำท่วมถ้าไม่ได้จอดแช่นาน ๆ ก็ยังไม่น่าเป็นห่วงสักเท่าไหร่ แต่ถ้ามีระยะเวลาการขับแช่ที่นาน หรือ ต้องโดนน้ำบ่อย ๆ ควรต้องนำรถเข้ามาเช็คว่าจาระบียังทำงานได้ดีอยู่หรือไม่ เนื่องจากจาระบีเมื่อสัมผัสกับน้ำเป็นเวลานาน ๆ จะเสื่อมสภาพ ไม่สามารถหล่อลื่นได้อย่างที่เคยทำ ถ้ายังฝืนใช้งานรถต่อไปโดยไม่แก้ไข อาจทำให้เกิดอาการลูกปืนล้อแตกได้

4. ตรวจสอบระบบเบรค

ชิ้นส่วนของเบรครถยนต์ทำมาจากเหล็ก แน่นอนว่าเหล็กนั้นย่อมไม่ถูกกับน้ำ เมื่อขับรถลุยน้ำท่วมอาจทำให้ชิ้นส่วนของเบรคเกิดสนิมได้ รวมถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ลอยมาตามน้ำ อาจเข้ามาติดอยู่ภายในเบรค ทำให้การทำงานของเบรคผิดปกติ เพราะฉะนั้นหลังจากขับรถลุยน้ำมาแล้ว ควรลองแตะเบรคเพื่อเช็คการทำงาน หลังจากนั้นก็ “รีดน้ำออกจากเบรค” ด้วยการขับรถในความเร็วต่ำ แตะเบรคเบา ๆ อย่างต่อเนื่อง ในระยะทางประมาณ 100 เมตร ให้ผ้าเบรคเกิดการเสียดสีกับจานเบรคจนเกิดความร้อน ทั้งหมดก็เพื่อให้น้ำที่เกาะอยู่บริเวณเบรคระเหยออกไปนั่นเอง

5. ระบบไฟฟ้าภายในรถ

ถึงแม้จะเป็นรถในระบบสันดาป แต่ถึงอย่างไรภายในรถก็ยังมีส่วนที่ใช้ไฟฟ้าอยู่ ดังนั้นเมื่อขับรถลุยน้ำท่วมอย่าลืมตรวจสอบระบบไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในรถ โดยเฉพาะในส่วนของหลอดไฟต่าง ๆ ว่ายังทำงานได้ตามปกติหรือไม่ และอย่าลืมตรวจสอบส่วนอื่น ๆ ที่เป็นระบบเกี่ยวกับไฟฟ้าให้ละเอียด หากเจอส่วนไหนที่ทำงานผิดแปลกไปจากเดิม ควรรีบแจ้งบริษัทประกันภัยรถยนต์โดยเร็วที่สุด

6. ของเหลวภายในเครื่องยนต์

สิ่งสุดท้ายคือการตรวจสอบของเหลวต่าง ๆ ภายในตัวรถ ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ หรือ น้ำมันเชื้อเพลิง เพราะการขับขี่ในสถานการณ์น้ำท่วมบางครั้ง อาจทำให้น้ำเข้าไปผสมอยู่กับของเหลวที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของตัวรถ การตรวจสอบโดยเร็วที่สุดเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งสังเกตได้ง่าย ๆ จากการที่น้ำและน้ำมันมักจะแยกชั้นกันอย่างชัดเจน ถ้าเจอว่ามีน้ำผสมอยู่ในถังน้ำมัน ให้ดับเครื่องรถเอาไว้ จากนั้นก็โทรแจ้งกับประกันรถยนต์ เพื่อเข้ารับการซ่อมแซมจากผู้เชี่ยวชาญ

ประกันรถยังให้ความคุ้มครองไหม ในกรณีที่ขับรถลุยน้ำท่วมมา

บทส่งท้าย

ก่อนจากกันช่วงท้ายของบทความ เราต้องขอเน้นย้ำอีกสักครั้ง ว่าการขับรถลุยน้ำท่วมหากอยู่ในเหตุ “สุดวิสัย” คุณยังจะได้รับความคุ้มครอง จากประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 หรือประกันชั้น 2+ หรือ 3+ ของบางบริษัท ถ้าเป็นการขับลุยน้ำด้วยความคึกคะนอง ดื้อรั้น ทั้ง ๆ ที่ได้รับคำเตือนแล้วว่าบริเวณที่ขับผ่านมีน้ำท่วม จะไม่สามารถอ้างได้ว่า “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” ได้ หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ที่ต้องใช้รถใช้ถนน แต่ยังไม่มีประกันภัยรถยนต์ดี ๆ ติดรถเอาไว้ SILKSPAN พร้อมมอบคำแนะนำ เพื่อตามหาประกันภัยที่ดีที่สุดสำหรับคุณ ติดต่อเราได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง


เขียนโดย : SILKSPAN ADVISOR
เผยแพร่วันที่ : 02/09/2024
โปรโมชั่นแนะนำ
“เช็กเบี้ยประกันรถ
เซฟกว่าเดิม 30%”

กำลังโหลด