ขาดต่อประกันอยู่หรือไม่ ต่อประกันกับ SILKSPAN ลุ้นรับ voucher จาก BigC มูลค่า 100 บาท

การตรวจสภาพรถต้องทำอย่างไร ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง


ตรวจสภาพรถทำอย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

รู้หรือไม่ ? ว่าการขัดข้องเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ของตัวรถ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ นั่นทำให้เกิดข้อบังคับให้รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 7 ปี จะต้องเข้ารับการตรวจสภาพรถเป็นประจำทุกปี เพื่อตรวจสอบว่า รถอยู่ในสภาพที่พร้อมต่อการขับขี่บนท้องถนน บทความนี้เราจะพาทุกคนไปดูกันว่า การตรวจสภาพรถต้องทำอย่างไรบ้าง และมีวิธีการเตรียมตัวอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วไปชมกันเลย !

 

การตรวจสภาพรถสำคัญอย่างไร ?

อย่างที่เราเกริ่นไปแล้วในช่วงแรก ถึงการตรวจสภาพรถเป็นการเช็คว่า สภาพรถของเรานั้นพร้อมใช้งาน เพื่อความปลอดภัยของตนเอง และเพื่อนร่วมทางบนท้องถนน ซึ่งในทางกฎหมายรถยนต์ทุกคัน ที่มีอายุการใช้งานเกินกว่า 7 ปี จะต้องเข้ารับการตรวจสภาพรถ ในสถานที่ซึ่งถูกจัดเอาไว้โดยเฉพาะ พร้อมนำเอกสาร “ใบรับรองการตรวจสภาพรถ” ที่จะยืนยันว่ารถพร้อมใช้งาน มายื่นกับกรมการขนส่งทางบก ในขั้นตอนการต่อภาษี และ การทำ พรบ. รถยนต์ นับว่าเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญ ที่ผู้ใช้รถทุกคนจะต้องดำเนินการในทุก ๆ ปี ไม่สามารถละเลยไปได้

 

ต้องนำรถไปตรวจสภาพรถที่ไหน ?

หากตอนนี้รถของคุณ ถึงเวลาที่จะต้องเข้ารับการตรวจสภาพรถแล้ว ก่อนที่ พรบ. หรือ ภาษี รถของคุณจะขาด ภายในระยะเวลา 3 เดือน สามารถนำรถไปตรวจสภาพรถได้จากสถานที่ 2 แห่ง ดังต่อไปนี้

· สถานตรวจสภาพรถเอกชน

สถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือ ตรอ. น่าจะเป็นตัวเลือกแรก ๆ ที่เหมาะกับคุณมากที่สุด เพราะมีกระจายอยู่ในทุก ๆ พื้นที่ทั่วประเทศ ให้บริการโดยเอกชน มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ส่วนมากใช้ระยะเวลาการตรวจสอบต่อคันประมาณไม่เกิน 1 ชั่วโมง เหมาะกับรถยนต์ที่ใช้ทั่วไป หรือ รถที่ไม่มีการดัดแปลงสภาพรถ ค่าบริการก็อาจจะขึ้นอยู่กับแต่ละสถานที่ ซึ่ง ตรอ. บางแห่งมีบริการ ตรวจสภาพพร้อมต่อภาษี ทำ พรบ. ครบจบในที่เดียว

· กรมการขนส่งทางบก

สำหรับรถที่อยู่นอกขอบเขตของการตรวจสภาพรถกับ ตรอ. เช่น รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเกินกว่า 1,600 กิโลกรัม , รถที่ผ่านการดัดแปลงสภาพรถ , รถที่ขาดต่อภาษีเกิน 1 ปี หรือ รถยนต์ที่เข้ารับการตรวจสอบกับ ตรอ. แล้วพบปัญหาบางอย่าง จนไม่สามารถออกใบรับรองการตรวจสภาพรถให้ได้ สามารถนำรถเข้ามาตรวจสภาพ ที่กรมการขนส่งทางบกโดยตรง แน่นอนว่าอาจมีขั้นตอนที่ใช้ระยะเวลามากกว่า ตรอ. อยู่บ้าง

 

ตรวจสภาพรถจะมีการตรวจสอบส่วนไหนบ้าง ?

เกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราอยากนำเสนอกับผู้อ่าน จะเป็นเรื่องที่ว่า มีการตรวจสอบอะไรบ้าง ? ในการตรวจสภาพรถประจำปีเพื่อต่อภาษีรถยนต์ ซึ่งเราสามารถแบ่งหมวดหมู่คร่าว ๆ ของการตรวจสอบได้ดังต่อไปนี้

  • ความถูกต้องของข้อมูลรถ เช่น ป้ายทะเบียน สีรถ เลขตัวถัง เอกสารต่าง ๆ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงส่วนไหนหรือไม่
  • ระบบการขับเคลื่อน ตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ว่าทำงานได้ปกติไหม ของเหลวในส่วนต่าง ๆ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ ระบบเบรกยังทำงานได้เต็มประสิทธิภาพแค่ไหน และ ระบบการควบคุมรถ
  • ระบบไฟ โดยเฉพาะในส่วนไฟส่องสว่าง จะต้องมีความเข้มแสงตรงตามที่กำหนดเอาไว้ ไม่มีการดัดแปลง ไม่มีการเปลี่ยนสีไฟ และ จะต้องทำงานได้ดีในทุก ๆ ดวง
  • ระบบไอเสีย ตรวจสอบว่าไม่มีเสียงดังเกินกว่าค่ามาตรฐาน ไม่มีการดัดแปลง และ จะต้องไม่ควันดำเกินกว่าปริมาณที่กฎหมายกำหนด
  • สภาพรถภายนอก และ ภายใน เป็นการตรวจสอบส่วนต่าง ๆ โดยรวมของรถ เช่น มีเข็มขัดนิรภัยไหม ? แตรยังดังอยู่หรือเปล่า ? ที่ปัดน้ำฝนทำงานปกติหรือไม่ ? และ ความแข็งแรงของตัวถังรถ ฯลฯ

แจกคู่มือใบขับขี่ใหม่ สอบผ่านในรอบเดียว

3 วิธีเตรียมตัว ก่อนเข้ารับการตรวจสภาพรถ เพื่อต่อภาษีประจำปี

ช่วงท้ายของบทความนี้ หลังจากเราได้นำเสนอเรื่องน่าสนใจ เกี่ยวกับการตรวจสภาพรถไปพอสมควรแล้ว มาถึงหัวข้อที่เราเกริ่นเอาไว้ในช่วงต้น สำหรับใครที่กำลังจะเข้ารับการตรวจสภาพรถ จะต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง ? เราสรุปให้ง่าย ๆ 3 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. เลือกสถานที่ตรวจสภาพรถ

ก่อนอื่นคือคุณจะต้องมองหาสถานที่ตรวจสภาพรถ ที่คุณสะดวกมากที่สุด อาจใช้การค้นหาว่า “ตรวจสภาพรถ ตรอ. ใกล้ฉัน” สำหรับผู้ที่ใช้รถยนต์โดยทั่วไป แต่ถ้าในกรณีรถขนาดใหญ่ หรือ รถที่ผ่านการดัดแปลงเช่น เปลี่ยนสีตัวถังรถ เปลี่ยนเครื่องยนต์ จำเป็นจะต้องเข้ารับการตรวจสภาพที่ กรมการขนส่งทางบก เท่านั้น แนะนำว่าควรจะเตรียมตัวเลือกเอาไว้เนิ่น ๆ เพื่อจะได้รู้วันเวลาที่สะดวกมากที่สุด

2. เตรียมเอกสารที่สำคัญให้พร้อม

การตรวจสภาพรถนอกจากเช็คความพร้อมด้านการใช้งาน ยังจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบความถูกต้องของตัวรถอีกด้วย ซึ่งจะต้องใช้เอกสารเพื่อใช้ประกอบการตรวจสอบเป็น ใบคู่มือจดทะเบียนรถ (หรือสำเนา) เรียกบ้าน ๆ คือ “เล่มรถ” นั่นเอง

3. นำรถเข้าตรวจสภาพในวันเวลาที่สะดวก

หลังจากค้นหาใน Google ว่า “ตรวจสภาพรถ ตรอ. ใกล้ฉัน” จนเลือกได้แล้วว่าจะนำรถตรวจสภาพที่ไหน เอกสารอย่าง “คู่มือจดทะเบียนรถ” ก็พร้อม ขั้นตอนสุดท้ายคือการนำรถเข้าไปตรวจสอบ ซึ่ง ตรอ. ส่วนมากมักจะหยุดในวันอาทิตย์ ส่วน กรมขนส่งทางบกหยุดวันเสาร์ และ อาทิตย์ ไม่นับรวมกับวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าบริการโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 200 ถึง 300 บาท

 

บทส่งท้าย

จะเห็นได้ว่าการตรวจสภาพรถนั้นไม่ได้ยุ่งยากแต่อย่างใด การเตรียมตัวก็ไม่มีขั้นตอนพิเศษอะไร สำหรับผู้ที่อายุการใช้งานรถเกินกว่า 7 ปี อย่าลืมนำรถไปตรวจสภาพ เพื่อดำเนินการต่อภาษีรถในปีนั้น ๆ ซึ่ง “ใบรับรองการตรวจสภาพรถ” นั้นมีอายุการใช้งานอยู่ที่ 90 วัน หากคุณมีเกณฑ์ที่จะต้องนำรถเข้าเช็คสภาพ หลังจากอ่านบทความนี้จนจบแล้ว สามารถค้นหาใน Google ได้เลยว่า “ตรวจสภาพรถใกล้ฉัน” และทำตามขั้นตอนที่เราแนะนำไปข้างต้นได้เลย รับรองว่าไม่มีปัญหาติดขัดอย่างแน่นอน


เขียนโดย : SILKSPAN ADVISOR
เผยแพร่วันที่ : 24/07/2024
รับข้อเสนอพิเศษ
  1. ส่วนลดสูงสุด 30%
  2. แบ่งจ่ายได้สูงสุด 10 เดือน (บัตรเครดิต และเงินสด)
  3. บริการเสริมช่วยเหลือฉุกเฉิน และเบิกค่าเดินทาง
  4. บริการเปรียบเทียบเบี้ยประกันจากบริษัทประกันกว่า 20 แห่ง

กรอกรายละเอียดเพื่อรับข้อเสนอจากพนักงานของเรา

“เช็คเบี้ยประกันรถฟรี 24 ชม.”

กำลังโหลด