เบี้ยดีโดนใจ ประกันภัยชั้น 1 เบี้ยเริ่ม 750 บาท/เดือน พิเศษรับส่วนลดสูงสุด 30% เช็กเบี้ยที่นี่ กับ SILKSPAN

เจอเส้นทางที่น้ำท่วมขัง เลือกอย่างไรดี ? ระหว่าง “ขับลุย” หรือ “หลีกเลี่ยง”


เลือกอย่างไรดี เมื่อต้องเจอกับน้ำท่วมขัง ขับลุยหรือหลีกเลี่ยง

หลังจากต้องเผชิญกับความร้อนระอุในช่วงฤดูร้อนมาแล้ว ตอนนี้ก็กำลังจะเข้าสู่ในช่วงฤดูฝนของประเทศไทย ซึ่งจะเริ่มในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ยาวไปจนถึงช่วงปลาย ๆ เดือนตุลาคมกันเลยทีเดียว ซึ่งหน้าฝนของประเทศไทยมักจะมาพร้อมกับเรื่องของ “น้ำท่วมขัง” บทความนี้ SILKSPAN มาพร้อมกับเกร็ดความรู้ เมื่อต้องเผชิญกับเส้นทางที่มีน้ำท่วมขังควรเลือกอย่างไรดี ? ระหว่าง ขับลุยน้ำไปเลย หรือ เลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่น มาตามหาคำตอบไปพร้อม ๆ กัน

 

ก่อนตัดสินใจ ขับรถลุยน้ำท่วมขัง ควรต้องพิจารณาอะไรบ้าง ?

เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์น้ำท่วมขัง ในเส้นทางที่จำเป็นจะต้องเดินทางผ่าน ก่อนจะขับรถลุยน้ำท่วม เราอยากให้ประเมินความเสี่ยงเสียก่อน ถึงรถยนต์ของเราจะถูกออกแบบให้กันน้ำได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าเป็นในบางสถานการณ์ การขับรถลุยน้ำก็อาจทำให้รถเกิดความเสียหายได้ เพื่อให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่า เราได้หยิบเอาสิ่งที่ควรพิจารณาเสียก่อน แล้วค่อยตัดสินใจครั้งสุดท้ายว่า จะ “ไปต่อ” หรือ “พอแค่นี้”

  • เช็กระดับน้ำก่อนลุย

ก่อนอื่นอยากให้พิจารณาถึง “ระดับน้ำ” เป็นอันดับแรก ถ้าเป็นรถยนต์ทั่วไปที่ไม่ได้มีการดัดแปลงความสูงของรถ ระดับน้ำที่ปลอดภัยจะอยู่ที่ไม่เกิน 30 เซนติเมตรโดยประมาณ หรือราว ๆ บริเวณกึ่งกลางของล้อรถ หากสูงเกินกว่านี้ในกรณีรถยนต์ส่วนบุคคลธรรมดาเลี่ยงได้จะดีที่สุด ยกเว้น รถ SUV หรือ รถกระบะ จะยังปลอดภัยอยู่

  • ดูประเภทของรถตัวเอง

เพราะรถยนต์แต่ละประเภทมีขนาดของรถที่แตกต่างกันออกไป ในกรณีที่ต้องเผชิญกับน้ำท่วมขัง รถที่มีความสูงมากกว่าก็จะปลอดภัยมากกว่า รถกระบะ และ รถ SUV ค่อนข้างจะได้เปรียบ เมื่อเทียบกับรถยนต์โดยทั่วไป ยิ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้ายิ่งควรหลีกเลี่ยงการขับรถลุยน้ำท่วม แม้ส่วนมากจะมีการคอนเฟิร์มว่า ได้มาตรฐาน IP67 ก็ตาม

  • ประเมินกระแสน้ำและความแรงของน้ำ

เราจะมองเฉพาะเรื่องของระดับน้ำอย่างเดียวไม่ได้ เพราะส่วนมากแล้วน้ำที่ท่วมขังบนท้องถนน จะไม่ได้เป็นน้ำนิ่ง ๆ แต่จะเกิดคลื่นจากการเคลื่อนที่ของรถโดยรอบอยู่ตลอด หากสังเกตได้ว่ากระแสน้ำค่อนข้างแรง อาจส่งผลให้มีน้ำซัดเข้ามาทำให้ตัวรถเสียหาย และกระแสน้ำอาจทำให้รถเสียหลักได้

เลือกอย่างไรดี เมื่อต้องเจอกับน้ำท่วมขัง ขับลุยหรือหลีกเลี่ยง

เตรียมตัวก่อนเข้าสู่ฤดูฝน วิธีขับรถลุยน้ำท่วมขังอย่างปลอดภัย

บางครั้งเราก็หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ต้องขับรถลุยน้ำท่วมไม่ได้ ยิ่งเป็นการขับรถในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งในช่วงหน้าฝนบางครั้งตอนแรกถนนก็ยังปกติ แต่พอมีฝนตกหนัก ๆ เพียงไม่กี่อึดใจ ท้องถนนก็เปลี่ยนเป็นคลองไปเสียดื้อ ๆ ต่อจากนี้คือการหลีกเลี่ยงความเสียหาย เมื่อต้องขับรถในบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง

  • ขับด้วยเกียร์ต่ำ รอบเครื่องคงที่

การขับรถผ่านน้ำท่วมเปรียบเสมือนกับการขับรถขึ้นเนินที่จะทำให้เกิดแรงต้านจากน้ำที่กระทำต่อตัวรถไม่ต่างกับการขึ้นเนินนั่นเอง การเลือกใช้เกียร์ต่ำจะช่วยให้เครื่องยนต์ของรถยนต์มีแรงบิดสูงมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้รถยนต์มีพลังขับเคลื่อนที่สูงมากขึ้น และในระหว่างการขับรถผ่านน้ำท่วมก็ควรทำการรักษารอบเครื่องไว้ที่ประมาณ 1,500 ถึง 2,000 RPM เพื่อป้องกันไม่ให้รถยนต์เกิดการดับกลางคัน

  • ห้ามเบรกกะทันหัน ระวังน้ำเข้าท่อไอเสีย

ระหว่างการขับรถลุยน้ำท่วมขัง ควรรักษาความเร็วให้คงที่ ห้ามขับยึกยัก หรือ เบรกกะทันหัน โดยเด็ดขาด เพราะการเหยียบคันเร่งแรง ๆ จะทำให้เกิดแรงดูดที่บริเวณท่อไอเสีย ซึ่งจะทำให้น้ำเข้าไปสู่ระบบเผาไหม้ของเครื่องยนต์ กรณีเดียวกันกับการเบรกกะทันหัน ซึ่งเสี่ยงที่จะทำให้น้ำเข้าสู่ท่อไอเสียได้เหมือน ๆ กัน

  • รักษาระยะห่างจากรถคันหน้า

ในขณะที่ขับรถลุยน้ำท่วมขัง ควรมีการเว้นระยะห่างจากรถคันหน้าจากระยะห่างเดิมประมาณอย่างน้อย 2 เท่า เนื่องจากระยะเบรกจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 ถึง 3 เท่าเมื่อมีการเบรกน้ำ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ และเกิดการเบรกกะทันหัน ซึ่งจะทำให้น้ำเข้าท่อไอเสียได้นั่นเองจึงจำเป็นต้องเว้นระยะห่างนั่นเอง

ถ้ารถดับขณะที่ขับรถลุยน้ำท่วม ควรทำอย่างไร ? ออกจากรถยังไงให้ปลอดภัย

บางครั้งโชคชะตาก็อาจไม่เข้าข้างเรา ถ้าในระหว่างขับรถลุยน้ำท่วม แล้วรถยนต์เกิดดับเอาเสียดื้อ ๆ กรณีนี้บอกได้คำเดียวเลยว่า “ซวยแล้ว” เพราะมีแนวโน้มสูงมากที่น้ำได้เข้าไปในเครื่องยนต์เรียบร้อยแล้ว มาดูกันว่าควรรับมืออย่างไร ?

  • ห้ามสตาร์ทรถซ้ำเด็ดขาด

ถ้ารถดับในสถานการณ์น้ำท่วมขัง ห้ามสตาร์ทเครื่องซ้ำโดยเด็ดขาด ! เพราะตอนนี้รถน่าจะเข้าสู่สถานการณ์ที่เรียกว่า “HydroLock” แปลไทยแบบบ้าน ๆ คือ “น้ำเข้ากระบอกสูบ” หากมีความพยายามสตาร์ทเครื่องซ้ำ จะทำให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหายร้ายแรง อาจต้องเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่เลยทีเดียว ค่าใช้จ่ายอาจสูงถึงหลักแสน !

  • วิธีออกจากรถอย่างปลอดภัย

การออกจากรถอย่างปลอดภัย ถ้าน้ำยังไม่ได้ท่วมสูงจนถึงขนาดที่เปิดประตูรถไม่ได้ ก็ให้มองซ้ายมองขวาเสียก่อน ว่าในบริเวณนั้นสามารถเดินลงมาได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ สิ่งที่ต้องระวังคือ บริเวณใกล้กับเสาไฟฟ้า หากไม่มั่นใจแล้วน้ำก็ไม่ได้ท่วมสูงจนเสี่ยงเป็นอันตราย ให้รอในรถเพื่อรอให้รถยกมาให้ความช่วยเหลือจะดีที่สุด

ให้ประกันรถคุ้มครองทุกการเดินทาง ผ่อนประกันรถชั้น 1 0% ที่ SILKSPAN

หลังขับรถลุยน้ำท่วมขัง ต้องเช็กส่วนไหนของรถบ้าง

นอกจากจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ระหว่างการขับรถลุยในพื้นที่น้ำท่วมขังแล้ว หลังจากที่ขับลุยมาแล้วก็อย่าลืมตรวจสอบตัวรถ เพราะอาจมีจุดที่เกิดความเสียหายโดยที่เราไม่รู้ตัว รวมถึงชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษหลังจากลุยน้ำท่วมมาแล้ว อาทิเช่น

  • ตรวจสอบเบรกก่อนออกเดินทางต่อ

เมื่อทำการขับรถผ่านจากจุดที่มีน้ำท่วมขังออกมาแล้ว อย่าเพิ่งรีบทำการขับรถด้วยความเร็ว ให้ทำการแตะเบรกเบา ๆ สัก 3 ถึง 5 ครั้ง เพื่อเป็นการไล่น้ำ และความชื้นที่เกาะอยู่บริเวณจานเบรก และผ้าเบรก พร้อมกับเป็นการเช็กว่าเบรกรถยนต์ยังสามารถทำงานได้ดีตามปกติอยู่หรือไม่ ? ถ้าหลังจากนั้นใช้งานแล้วเบรกฝืด มีเสียงดัง ก็ให้นำรถเข้ารับการตรวจเช็กอย่างละเอียด และทำการซ่อมบำรุงทันที

  • ตรวจสอบน้ำมันเครื่องและกรองอากาศ

เมื่อกลับมาถึงบ้านจอดรถดับเครื่องเรียบร้อย รอสักประมาณ 10 นาที จากนั้นดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องมาเช็ค หากมีสีของน้ำมันเครื่องปกติก็สบายใจได้ ถ้าเป็นสีขุ่นเหมือนนมแสดงว่ามีน้ำเข้า ให้เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทันที ส่วนบริเวณกรองอากาศก็ให้เช็ดจากการเกิดฝาครอบออกมาดู ถ้าพบว่าเปียกหรือมีคราบน้ำ ให้เปลี่ยนทันที

  • เช็คระบบไฟและแบตเตอรี่

ระบบไฟเช็คง่าย ๆ ด้วยการเปิดปิดไฟทุกดวงในรถ ว่ามีจุดไหนที่ทำงานผิดปกติไหม ติด ๆ ดับ ๆ หรือเปิดไม่ติดหรือไม่ ? ในรถรุ่นใหม่ที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เยอะ จะสามารถพบข้อผิดพลาดได้ง่าย ถ้ามีอาการผิดปกติให้รีบนำรถเข้ารับการตรวจสอบในทันที เพราะตัววงจรอาจเสียหาย หรือ แบตเตอรี่อาจเสื่อมสภาพ

 

วิธีป้องกันรถเสียหายจากน้ำท่วมในอนาคต

ในเมื่อปัญหาน้ำท่วมขังสำหรับบางพื้นที่ เป็นเรื่องที่ต้องเจอเป็นประจำ ขอเพียงมีฝนตกลงมาแค่ปรอย ๆ ก็พร้อมที่จะมีน้ำท่วมขังในทันที เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายกับตัวรถ ซึ่งเกิดจากการขับรถลุยน้ำท่วม เรามีแนวทางป้องกันดี ๆ มาฝาก ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงเส้นทางเสี่ยงน้ำท่วม

แม้ว่าจะมีระดับน้ำที่ปลอดภัยสำหรับการขับลุยอยู่ แต่ถ้าเลือกได้จริง ๆ ขอแนะนำให้ตัดสินใจ “เลี่ยง” จะดีที่สุด ใช้วิธีเช็กจากพยากรณ์อากาศ หรือคอยติดตามสถานการณ์น้ำท่วม แล้วค่อยวางแผนเส้นทางก่อนออกเดินทาง

  • ติดตั้งท่อหายใจ (Snorkel) สำหรับรถที่ต้องลุยน้ำบ่อย

อาจเป็นวิธีที่ดูฮาร์ดคอร์ไปหน่อย แต่ในกรณีที่อยากจะตัดรำคาญจากปัญหาน้ำท่วมขัง การติด “ท่อหายใจ” ซึ่งมักจะพบกับรถโฟร์วีลที่ใช้ในการลุยป่า ก็เป็นตัวช่วยที่เหมาะกับรถที่ต้องลุยน้ำบ่อย ๆ แม้น้ำจะสูงแค่ไหนก็ไม่หวั่น

  • ทำประกันรถยนต์ที่คุ้มครองน้ำท่วม

เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงหายจากน้ำท่วม การทำประกันภัยรถยนต์ที่มีความคุ้มครอง “ภัยธรรมชาติ” โดยเฉพาะประกันชั้น 1 ก็จะช่วยสร้างความอุ่นใจ แม้ตัวรถจะเสียหายจนซ่อมไม่ได้ ก็ยังได้รับความคุ้มครองอยู่

 

บทส่งท้าย

สุดท้ายแล้วเราอยากแนะนำให้ หลีกเลี่ยงการขับรถลุยน้ำท่วมขังจะดีกว่า เพราะนอกจากเรื่องของระดับน้ำที่น่ากังวล ยังมีสิ่งที่เรามองไม่เห็นใต้น้ำอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น พื้นถนนที่เป็นหลุมเป็นบ่อ , ลูกระนาดที่เรามองไม่เห็น หรือ ฝาท่อที่อาจมีการเปิดเอาไว้ ซึ่งล้วนเป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้นั่นเอง

สุดท้ายนี้หากคุณอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีปัญหาน้ำท่วมขังอยู่บ่อย ๆ เราขอแนะนำให้เลือกทำ “ประกันภัยชั้น 1” เพราะให้ความคุ้มครองจากกรณีความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วมขัง รวมถึงกรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณีอีกด้วย หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติม SILKSPAN พร้อมให้คำแนะนำเลือกแผนประกันภัยที่ตอบโจทย์คุณมากที่สุด เพียงกรอกข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้านล่างบทความนี้เพียงเท่านั้น


เขียนโดย : SILKSPAN ADVISOR
เผยแพร่วันที่ : 06/05/2025
รับข้อเสนอพิเศษ

จองสิทธิ์ประกันรถยนต์

ประกันรถยนต์ รับส่วนลดสูงสุด 30% กว่า 20 บริษัทชั้นนำ

  1. ต่ออายุล่วงหน้า รับส่วนลดเพิ่ม สูงสุดกว่า 500 บาท
  2. ผ่อนบัตรเครดิต ผ่อนเงินสด ได้สูงสุด 10 เดือน
  3. ฟรีบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชม.
  4. ฟรีรถใช้ระหว่างซ่อม หรือ เบิกค่าเดินทาง 1,000 บาท

กรอกข้อมูล เพื่อ “รับข้อเสนอพิเศษ” ต่อประกันรถยนต์

taff-call
“เช็คเบี้ยประกันรถฟรี 24 ชม.”
line

กำลังโหลด