การันตีเช็กเบี้ยประกันรถถูกลง 30%

ใบเคลมหายตั้งแต่ยังไม่เริ่มซ่อม ต้องทำอย่างไร


ใบเคลมหายต้องทำอย่างไร

อุบัติเหตุคือสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่เราสามารถผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ ด้วยบริการจากประกันรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็น ค่าใช้จ่าย การจัดหาอู่ในเครือ และบริการอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้แก่เรา ซึ่งเอกสารที่สำคัญอย่าง “ใบเคลม” ถือเป็นหลักฐานที่ใช้ยืนยันเพื่อดำเนินการซ่อมรถของเรา แล้วถ้าเราเผลอทำใบเคลมหาย แบบนี้ต้องทำยังไงดี ยังขอเคลมได้อยู่มั้ย วันนี้ SILKSPAN จะมาอธิบายให้ทุกคนเข้าใจ ติดตามกันได้ใบบทความนี้

 

ใบเคลมคืออะไร

ใบเคลม คือ เอกสารรับรองความเสียหายที่เจ้าหน้าที่ประกันภัยเป็นผู้ออกให้หลังสำรวจหรือบันทึกรายละเอียดของร่องรอยความเสียหาย เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานในการส่งถยนต์เข้าไปซ่อมที่ศูนย์บริการ หรืออู่มาตรฐานในเครือประกัน โดยรายละเอียดในใบเคลมจะมีการระบุบาดแผลเอาไว้อย่างชัดเจน เช่น ประตูหลังฝั่งขวายุบ กันชนดุ้ง รอยหินดีดใส่กระจก เป็นต้น

 

อายุของใบเคลม

ใบเคลมมีอายุ 2 ปีนับตั้งแต่วันที่บริษัทประกันออกให้ สามารถนำรถไปซ่อมที่ศูนย์บริการ หรืออู่มาตรฐานในเครือประกันเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ถ้าให้ดี SILKSPAN ขอแนะนำว่าให้รีบซ่อมตั้งแต่ 15 วันแรกไปเลย เพื่อป้องกันไม่ให้รอยแผลเสียหายหนักกว่าที่ระบุในใบเคลม และถ้าเป็นฝ่ายถูกควรรีบเคลมภายใน 1 ปีแรก จะได้ไม่เสียสิทธิ์เรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากคู่กรณี

 

ใบเคลมหายต้องทำอย่างไร

มาถึงประเด็นหลักของเราที่ว่า “ใบเคลมหายต้องทำอย่างไร” แบบนี้จะแก้ไขยังไงดี ยังมีสิทธิ์ในการเคลมความเสียหายอยู่หรือไม่ และต้องทำอย่างไรบ้าง เรามีคำตอบมาให้รับทราบกัน ดังนี้

  1. โทรหาบริษัทประกันภัยที่ทำไว้ทันที
  2. บอกเจ้าหน้าที่เรื่องใบเคลมหาย และขอเลขที่เคลมอีกครั้ง
  3. แจ้งรายละเอียดรถยนต์ของคุณ วันเกิดเหตุ และจุดเสียหายที่ต้องซ่อมแซมตามใบเคลมเดิม
  4. หลังจากได้เลขที่เคลมมาแล้ว ให้ไปยังสถานีตำรวจใกล้บ้าน แจ้งความเรื่องเอกสารหาย และแจ้งตำรวจให้ลงรายละเอียดต่างๆ ให้ชัดเจน เช่น ใบเคลมของบริษัทอะไร เลขที่เคลม ยี่ห้อ และทะเบียนรถ รวมไปถึงรายละเอียดอื่นๆ
  5. หลังจากได้ใบแจ้งความมาแล้ว ให้ติดต่อกลับไปยังบริษัทประกันภัยอีกครั้ง เพื่อขอสำเนาใบเคลมของคุณ และที่สำคัญ อย่าลืมให้บริษัทประกันรับรองสำเนาถูกต้องกลับมาให้ด้วย
  6. จากนั้นนำใบเคลมที่ได้มาใหม่ ไปยื่นให้กับศูนย์บริการ หรืออู่ เมื่อนำรถเข้าไปซ่อม

ประกันรถยนต์ชั้น 1 เริ่มต้นเพียง 750

เบอร์โทรศัพท์แจ้งเคลม และแจ้งอุบัติเหตุ ของบริษัทประกันภัยต่างๆ

สำหรับใครที่อาจจะจำเบอร์บริษัทตัวเองไม่ได้ หรือไม่เคยเมมเอาไว้ SILKSPAN ได้รวบรวมเอาไว้ให้ทุกคนด้านล่างนี้ จะโทรสอบถามข้อมูล โทรเรียกเคลม หรือแจ้งใบเคลมหายก็ได้ เซฟเก็บไว้กันได้เลย

วิริยะประกันภัย

เบอร์โทรศัพท์ : Call Center 1557 หรือ 02-129-8888

กรุงเทพประกันภัย

เบอร์โทรศัพท์ : Call Center 1620 (แจ้งเหตุ 24 ชั่วโมง) หรือ 02-285-8888 กด 3 (แจ้งเคลมทั่วไป)

เจ้าพระยาประกันภัย

เบอร์โทรศัพท์ : 02-791-1444 กด 15 หรือ 17

คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย

เบอร์โทรศัพท์ : 02-257-8080

ทิพยประกันภัย

เบอร์โทรศัพท์ : Call Center 1736 , 02-239-2200 หรือ 02-239-2049

เทเวศประกันภัย

เบอร์โทรศัพท์ : Call Center ตลอด 24 ชม. 1291 กด 1 ,  02-080-1599 หรือ 02-670-4444 ตลอด 24 ชม.

เมืองไทยประกันภัย

เบอร์โทรศัพท์ : Call Center 1484 , 0-2665-4000 หรือ 0-2290-3333

สินทรัพย์ประกันภัย

เบอร์โทรศัพท์ : Call Center 1729 กด 1 หรือ 02-792-5555 กด 1 

อลิอันซ์ อยุธยา

เบอร์โทรศัพท์ : Call Center 1292

เอ็มเอสไอจี

เบอร์โทรศัพท์ : 02-007-9009

เอเชียประกันภัย

เบอร์โทรศัพท์ : 02-869-3333

แอกซ่าประกันภัย

เบอร์โทรศัพท์ : 02-118-8111

แอล เอ็ม จี

เบอร์โทรศัพท์ : Call Center 1790 กด 1

เคเอสเคประกันภัย

เบอร์โทรศัพท์ : 02-022-1111

ไทยไพบูลย์

เบอร์โทรศัพท์ : 02-246-9635 ต่อ 77

ไทยวิวัฒน์

เบอร์โทรศัพท์ : Call Center 1231 หรือ 02-695-0800

สินมั่นคง

เบอร์โทรศัพท์ : 1596 หรือ 02-378-7000

ไทยเศรษฐกิจประกันภัย

เบอร์โทรศัพท์ : 02-853-8888 ต่อ 8819

สรุปเกี่ยวกับใบเคลมหาย

ใบเคลมหายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่นำรถเคลมทันทีเพราะบาดแผลเล็กน้อย ไม่ค่อยส่งผลต่อการใช้งานมากเท่าไหร่ จึงเป็นต้นเหตุให้ลืมได้ว่าเอาใบเคลมเก็บไว้ที่ไหน ถ้าให้ดีพยายามเก็บไว้ในจุดที่นึกออกได้ง่าย หรือไม่ก็รีบเคลมตั้งแต่เนิ่นๆ ไปเลย จะได้ไม่ต้องรีบร้อนในช่วงใกล้หมดสัญญากรมธรรม์ และสุดท้าย SILKSPAN ขอแนะนำว่าการมีประกันภัยรถยนต์ติดไว้ ก็ถือว่าอุ่นใจ และช่วยแบ่งเบาภาระได้มาก เพราะคุณไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ หรืออุบัติเหตุขึ้นเมื่อไหร่ ดังนั้นทำประกันภัยรถยนต์เอาไว้ ดีกว่าแน่นอนครับ

 


เขียนโดย : SILKSPAN ADVISOR
เผยแพร่วันที่ : 26/05/2022
โปรโมชั่นแนะนำ
“เช็กเบี้ยประกันรถ เซฟกว่าเดิม 30%”

กำลังโหลด