การันตีเช็กเบี้ยประกันรถถูกลง 30%

OBD 2 คืออะไร มีไว้ทำไม


OBD 2 คืออะไร มีไว้ทำไม

หลายคนอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับเจ้าช่องเชื่อมต่อที่มีชื่อ OBD ในรถมาบ้าง บางคนก็อาจจะไม่เคยได้ยินเลย แต่เชื่อหรือไม่ เจ้าช่องนี้สามารถช่วยชี้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับรถของคุณได้ง่ายขึ้น ดังนี้มาทำความรู้จักเจ้า OBD ไว้หน่อยก็ดีนะ

ช่องเชื่อมต่อ หรือ พอร์ต OBD (On-board Diagnostic) จริงๆ มีมานานแล้วตั้งแต่ปี 1968 โดย Volkswagen เป็นผู้คิดค้นขึ้น จากนั้นค่ายรถแบรนด์ต่างๆ อย่างเช่น Datsun และ GM ก็พยายามพัฒนาพอร์ตนี้มาเรื่อยๆ แน่นอนว่าเมื่อต่างแบรนด์ต่างพัฒนาพอร์ตของตัวเอง ทำให้โค้ดที่รายงานปัญหาของรถต่างกันออกไป จนกระทั่งปี 1988 สมาคมวิศวกรยานยนต์แห่งแคลิฟอร์เนียได้เรียกร้องให้มีการตั้งมาตรฐานของพอร์ตและชุดวิเคราะห์ขึ้น เพื่อให้รถทุกคันสามารถตรวจสอบความผิดปกติของรถได้ ซึ่งมีผลต่อคุณภาพอากาศบนท้องถนนอีกด้วย จากนั้นในปี 1994 รัฐแคลิฟอร์เนียได้มีคำสั่งให้รถทุกคันที่จะถูกขายในปี 1996 เป็นต้นไป จะต้องมีพอร์ต OBD ตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรยานยนต์แคลิฟอร์เนีย จากนั้นยุโรปก็เริ่มใช้มาตรการเดียวกันในปี 2001 ในปัจจุบัน OBD ที่ถูกติดตั้งอยู่ในรถทั่วไปคือรุ่น OBD2 ส่วน OBD3 นั้นยังอยู่ในช่วงหารือเกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนา

เจ้าพอร์ตนี้หน้าตาเป็นอย่างไร อยู่ตรงไหนกัน

พอร์ต OBD2

พอร์ต OBD2 นี้มีลักษณะเหมือนปลั้กที่มีช่องพินเล็กๆ อยู่ 16 พินด้วยกัน อยู่ภายในห้องโดยสาร ตำแหน่งอาจต่างกันออกไปในรถแต่ละรุ่น แต่ส่วนมากแล้วจะอยู่ตรงฝั่งคนขับด้านหน้า ใต้แผงไฟหน้าปัด

 

ประกันรถยนต์ชั้น 1 เริ่มต้นเพียง 750

 

หน้าที่ของพอร์ต OBD2

เป็นตัวบอกค่าต่างๆ และข้อมูลเบื้องต้นว่ารถของคุณผิดปกติที่ส่วนไหน ซึ่งพอร์ตนี้จะเชื่อมกับไฟเครื่องยนต์ที่แผงไฟหน้าปัด หากมีความปกติเกิดขึ้นก็จะทำให้ไฟเครื่องยนต์นั้นสว่างขึ้น และพอร์ตนี้ยังช่วยให้เราสามารถนำค่าต่างๆ ที่รถเก็บไว้มาช่วยวิเคราะห์สภาพของรถได้ ประโยชน์ของพอร์ตนี้แบ่งเป็น 3 ข้อใหญ่ๆ คือ

1. ตรวจจับพฤติกรรมการขับรถ ความเร็ว การทำงานของเครื่องยนต์ อุณหภูมิของน้ำ ติดตามการสึกหรอของชิ้นส่วนต่างๆ หรือดูว่าชิ้นส่วนใดหลวมไวกว่าชิ้นส่วนอื่นๆ หรือไม่ โดย OBD2 จะอ่านค่าที่บันทึกไว้ใน ECU (Electronic Control Unit) กล่องเครื่อง หรือ กล่องcomputer

2. วิเคราะห์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้า ซึ่งช่วยให้คุณป้องกันปัญหาได้ แทนที่จะต้องมาแก้ทีหลัง

3. ตรวจการทำงานแต่ละช่วงเวลา ซึ่งข้อมูลที่ได้นี้ส่วนใหญ่จะเอาไปใช้ในการปรับแต่งการทำงานของเครื่องยนต์

แต่ก่อนที่เราจะสามารถอ่านค่าต่างๆ ได้ เราต้องเอาเครื่องอ่านค่า หรือสแกนเนอร์มาเสียบเข้ากับพอร์ตนี้เสียก่อน แล้วอ่านค่าที่ได้จากสแกนเนอร์ โดยส่วนใหญ่ช่างตามศูนย์ หรืออู่ต่างๆ ก็จะมีเครื่องมือนี้กันอยู่แล้ว แต่ถ้าอยากจะมีไว้ใช้เอง ก็สามารถหาซื้อได้จากร้านค้าทั่วไป หรือร้านค้าออนไลน์

 


เขียนโดย : SILKSPAN ADVISOR
เผยแพร่วันที่ : 25/01/2022
โปรโมชั่นแนะนำ
“เช็กเบี้ยประกันรถ เซฟกว่าเดิม 30%”

กำลังโหลด