ประกันชั้น 1

เกิดอุบัติเหตุ รถใหญ่ผิดเสมอจริงหรือไม่?


เกิดอุบัติเหตุ รถใหญ่ผิดเสมอจริงหรือไม่

สำหรับกรณีแบบนี้ต้องทำความเข้าใจกันใหม่นะครับเพื่อนๆ ไม่ใช่รถใหญ่ผิดเสมอไป เพราะเราต้องดูพฤติกรรม เจตนา ผลของการกระทำประกอบตามหลักกฎหมายไปด้วย ถึงจะวินิจฉัยได้ว่าใครเป็น ฝ่ายถูก ฝ่ายผิด ซึ่งหลายเหตุการณ์เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องเจรจากันอีกหลายครั้งกว่าจะตกลงความเสียหายกันได้ ต้องใช้หลักฐานกันพอสมควร

อุบัติเหตุรถชนแบบ ที่มักหาข้อสรุปไม่ได้

1.อุบัติเหตุจากการที่รถชนท้าย

มักมีโอกาสเกิดขึ้นได้อยู่เสมอในการขับขี่บนท้องถนน โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วนเช่นช่วงเช้าที่รถทุกคันกำลังรีบเร่งมุ่งหน้าเพื่อไปทำงาน อาจเกิดการเบรกโดนกระทัน หรือเกิดจากการเว้นระยะห่างจากรถยนต์คันได้ไม่มากพอ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ตามกฎหมายจราจรรมาตรา 40 ที่บังคับให้มีการขับขี่รถยนต์ต้องมีการเว้นระยะห่างจากรถคันหน้าพอสมควรในระยะที่สามารถหยุดรถได้อย่างปลอดภัยหากเกิดเหตุจำเป็นต้องทำการหยุดรถ ดังนั้นทุกครั้งที่ทำการขับขี่ควรมีสติ และไม่ประมาทในการขับขี่ และมีสติอยู่เสมอ

2.อุบัติเหตุจากรถเฉี่ยวชน

การเฉี่ยวชนมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในท้องถนนที่มีการจราจรที่ติดขัด เมื่อจราจรมีการติดขัด รถมอเตอร์ไซค์ก็มักที่จะทำการแทรกไปตามทางถนนที่มีช่องว่างเพื่อทำการแทรกตัวเพื่อขับขี่ลัดทางเพื่อความรวดเร็ว การขับขี่ในลักษณะนี้มีโอกาสที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ง่ายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการถูกชนจากรถมอเตอร์ไซค์ที่วิ่งมาจากถนนที่เป็นมุมอับสายตา และตัวรถมอเตอร์ไซค์เองก็มีโอกาสที่เกิดการเฉี่ยวชนกับรถเก๋ง รถใหญ่บนท้องถนน ซึ่งมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุเล็กน้อย เช่น การเฉี่ยวชนกระจกข้าง หรือจะเป็นการเฉี่ยวชนรถด้านข้างที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์เป็นทางยาว หรืออาจเป็นสาเหตุที่ทำให้รถมอเตอร์ไซค์เสียการทรงตัว และชนเข้ากับรถคันอื่น และเกิดความเสียหายเพิ่มเติมขึ้นได้

3.อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากความประมาท

ความประมาทเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นบนท้องถนน ละเลยการปฏิบัติตามข้อกฎหมาย เช่น การไม่ฝ่าไฟแดง การละเลยสิ่งกีดขวาง สัญลักษณ์ทางจราจรต่างๆ รวมไปถึงการทำผิดกฎหมายอย่างการเมาแล้วขับ หรือจะเป็นการประลองความเร็ว แข่งรถกันบนท้องถนน ไม่ว่าจะเป็นการแข่งกันของรถยนต์ หรือมอเตอร์ไซค์เองก็ถือว่าเป็นความประมาทอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเหตุที่เกิดจากผู้ขับขี่รถยนต์ หรือรถมอเตอร์ไซค์เอง อุบัติเหตุที่เกิดจากความประมาทก็มักจะสร้างความเสียหายไว้เป็นอย่างมาก เมื่อทำการขับขี่โดยประมาท ผู้ขับขี่มักจะละเลยความปลอดภัยลง และมักเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบตั้งตัว จึงมีโอกาสที่ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นได้สูง

4.อุบัติเหตุที่เกิดจากเจตนาขับชน

หลายต่อหลายครั้ง อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นก็มีโอกาสเกิดจากเจตนาที่ต้องการจะชน หรือทำร้ายรถคู่กรณีอีกคัน เช่นเหตุการณ์สมมติที่รถยนต์เผลอไปเร่งเครื่องยนต์ใส่รถมอเตอร์ไซค์ตอนจอดรถไฟแดงด้วยความไม่ตั้งใจ แต่ทางมอเตอร์ไซค์อาจเกิดความรู้สึกไม่พอใจ และมีการขับขี่ตามมาเพื่อทำการหาเรื่อง เหตุการณ์อาจบานปลายไปจนทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ หรือจะเป็นในกรณีที่รถยนต์มีเจตนาส่วนตัว และทำการถอยรถมาเพื่อชนกับคู่กรณีก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน

เกิดอุบัติเหตุรถชนกัน รถใหญ่ผิดเสมอจริงหรือ?

ตัวอย่าง : นาย A ขี่รถจักรยานยนต์ออกมาจากในซอยหมู่บ้าน เพื่อออกถนนใหญ่ไปรับญาติที่รออยู่ป้ายรถเมล์ ด้วยความรีบเร่งทำให้ นาย A ขับขี่ด้วยความเร็ว เมื่อถึงปากซอยหมู่บ้าน นาย A ขี่รถจักรยานยนต์พุ่งพรวดออกมาที่ถนนใหญ่สายหลัก ตัดหน้ารถยนต์ของนาย B ทำให้เกิดอุบัติเหตุชนกับรถจักรยานยนต์ของนาย A ในกรณีนี้ผู้ที่เป็นฝ่ายผิดอาจจะไม่ใช่รถใหญ่เสมอไป ในทางกลับกันรถจักรยานยนต์ของนาย A อาจเป็นฝ่ายที่ผิดเสียเอง เพราะออกมาจากซอยหมู่บ้านซึ่งเป็น (ทางโท) ส่วนรถยนต์ของนาย B เป็น (ทางเอก) ที่ขับมาอย่างปกติไม่ได้ใช้ความเร็ว แต่การที่รถจักรยานยนต์ออกมาตัดหน้ากระทันหัน เป็นเหตุสุดวิสัยที่จะหยุดรถได้ทัน

การที่รถจักรยานยนต์จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อรถใหญ่ ก็ยากมากครับที่จะชนะคดี ความเข้าใจว่ารถใหญ่ผิดเสมอนั้น ต้องดูพฤติกรรม เจตนา ผลของการกระทำประกอบไปด้วย ซึ่งหากรถใหญ่ติดกล้องหน้ารถเก็บไว้เป็นหลักฐานผู้ที่เป็นฝ่ายผิดอาจจะเป็นรถจักรยานยนต์ครับ ถ้าหากรถนาย B มีประกันรถชั้น 1 ยิ่งไม่ต้องกังวลเรื่องค่าซ่อม เพราะยังไงประกันรถยนต์ก็จัดการให้เราครับ

เกิดอุบัติเหตุรถชน สรุปได้อย่างไรว่าใครผิด?

เมื่อเกิดอุบัติเหตุไม่ได้แปลว่ารถใหญ่จะผิดเสมอ ถึงแม้ว่าในบางสถานการณ์ รถยนต์ที่เป็นฝ่ายรถใหญ่จะมีความผิดอยู่จริง เช่นการถอยหลังไปชน หรือจะเกิดจากความประมาทที่ทำให้เกิดการเบรกในระยะประชิดที่ไม่มีพื้นที่ว่างพอให้เบรค และทำให้รถยนต์เกิดการชนกับมอเตอร์ไซค์ด้านหน้าได้

แตในทางกลับกันรถเล็กที่วิ่งมาด้วยความเร็ว หรือขับขี่ด้วยความประมาท และเกิดอุบัติเหตุรถชนขึ้นมากเป็นฝ่ายผิดได้ ไม่จำเป็นว่าฝ่ายผิดต้องเป็นรถยนต์ใหญ่เท่านั้น แต่ถ้าเป็นการขับสวนกันในซอยที่ค่อนข้างแคบ รถใหญ่ต้องให้รถเล็กผ่านไปก่อน

ประกันรถยนต์ชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้นที่ 750 บาท

เกร็ดความรู้! ความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจแต่ละประเภท

ประกันรถชั้น 1

คุ้มครอง สูญหาย ไฟไหม้ น้ำท่วม รถชนแบบไม่มีคู่กรณีโดยสามารถแจ้งเคลมประกันเพื่อซ่อมรถจากอุบัติเหตุได้ เช่น ชนฟุตบาท หรือชนเสาไฟฟ้า ความคุ้มครองตามทุนประกันที่คุณซื้อไว้
เช็คเบี้ยประกันชั้น 1 ได้ที่นี่

ประกันรถชั้น 2 +

คุ้มครอง สูญหาย ไฟไหม้ รถชนรถที่มีคู่กรณีเท่านั้น ความคุ้มครองตามทุนประกันที่คุณซื้อไว้
เช็คเบี้ยประกันชั้น 2+ ได้ที่นี่

ประกันรถชั้น 3 +

คุ้มครองรถชนรถที่มีคู่กรณีเท่านั้น ความคุ้มครองตามทุนประกันที่คุณได้ซื้อไว้
เช็คเบี้ยประกันชั้น 3+ ได้ที่นี่

ประกันรถชั้น 3

คุ้มครองรถของคู่กรณีเท่านั้น (เฉพาะเป็นฝ่ายถูก) หากคุณฝ่ายผิดต้องซ่อมรถให้คู่กรณี
เช็คเบี้ยประกันชั้น 3 ได้ที่นี่

ส่วน พ.ร.บ. เป็นประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ รถยนต์ทุกคันต้องทำตามกฎหมายกำหนด โดยให้ความคุ้มครองเฉพาะร่างกายบุคคลภายนอก ไม่ได้ให้ความคุ้มครองในส่วนของทรัพย์สินหรือรถยนต์

สุดท้ายนี้ขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนน ขับขี่ด้วยความไม่ประมาทตั้งสติก่อนสตาร์ทรถทุกครั้ง และที่สำคัญประกันรถห้ามขาดต่ออายุเด็ดขาด เพราะเมื่อถึงสถานการณ์ฉุกเฉินประกันรถสามารถช่วยคุณได้

 


เขียนโดย : SILKSPAN ADVISOR & ECOMONEY
เผยแพร่วันที่ : 24/11/2023
โปรโมชั่นแนะนำ
“เช็คเบี้ยกับเราซิคะ”