ประกันชั้น 1

กรมธรรม์ประกันภัยคืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับประกันรถยนต์


กรมธรรม์ประกันภัย

    หลายคนที่กำลังอยู่ในช่วงพิจารณาเลือกซื้อประกันสักหนึ่งเล่ม เชื่อว่าคงต้องเคยได้ยินและเห็นคำว่า ‘กรมธรรม์ประกันภัย’ กันอยู่แล้ว ซึ่งมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่อาจจะยังไม่เข้าใจถึงความหมายอย่างแท้จริงมากสักเท่าไร และอาจมีหลายคนเกิดความสงสัยว่ากรมธรรม์คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง บทความนี้ SILKSPAN จะพาผู้อ่านทุกท่านไปไขข้อสงสัยกันว่า กรมธรรม์ประกันภัยคืออะไร และมีความสำคัญกับผู้เอาประกันภัยอย่างไรบ้าง ตามไปหาคำตอบพร้อมกันได้ในบทความนี้

 

กรมธรรม์ประกันภัย คืออะไร

    กรมธรรม์ประกันภัย คือเอกสารที่ทางบริษัทประกันภัยออกให้แก่ผู้เอาประกัน เพื่อเก็บเอาไว้เป็นหลักฐานสำคัญในการทำประกันภัย โดยบริษัทประกันภัยจะเก็บไว้ 1 ฉบับ และให้กับผู้เอาประกันอีก 1 ฉบับ โดยภายในกรมธรรม์จะระบุรายละเอียดและข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เอาไว้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเลขที่กรมธรรม์ ชื่อผู้เอาประกัน ชื่อผู้รับผลประโยชน์ ค่าเบี้ยประกันภัย รวมไปถึงเงื่อนไขการเอาประกันภัยต่าง ๆ เป็นต้น โดยกรมธรรม์จะได้รับเป็นเอกสารส่งไปตามที่อยู่ที่ผู้เอาประกันได้ระบุไว้ แต่ในปัจจุบันสามารถขอรับเป็นกรมธรรม์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางออนไลน์ได้เช่นกัน ซึ่งกรมธรรม์ทั้งแบบกระดาษ และแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็มีผลเช่นเดียวกัน ให้ความคุ้มครองเหมือนกัน และสามารถใช้เป็นหลักฐานในการทำเรื่องเคลม หากเกิดอุบัติเหตุกับตัวรถยนต์ และคู่กรณีได้เช่นเดียวกัน 

 

กรมธรรม์ประกันภัยมีกี่ประเภท

    การแบ่งประเภทของกรมธรรม์ประกันภัย สามารถแบ่งได้ตามประเภทของประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ การประกันชีวิต (Life Insurance) และการประกันวินาศภัย (Non-Life Insurance) โดยธุรกิจการประกันภัยทั้ง 2 ประเภทจะมีหลักเกณฑ์ และมีการกำกับดูแลภายใต้กฎหมายที่แตกต่างกัน ซึ่งการประกอบธุรกิจประกันชีวิตจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ พ.ร.บ. ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และสำหรับการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ พ.ร.บ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 โดยตามหลักการวิชาการประกันภัยสามารถแบ่งประเภทของการประกันภัยออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

การประกันภัยบุคคล (Insurance of the person)

        การประกันภัยบุคคลเป็นการประกันภัยที่มีความเกี่ยวกับภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือที่เกิดกับบุคคล ได้แก่

  • การประกันชีวิต
  • การประกันอุบัติเหตุ
  • การประกันสุขภาพ

        ซึ่งเมื่อได้ทำการทำประกันภัยเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็จะได้รับกรมธรรม์ที่ใช้เอกสารยืนยันในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่สามารถขอรับความคุ้มครองจากทางบริษัทประกันได้

การประกันภัยทรัพย์สิน (Property Insurance)

        การประกันภัยทรัพย์สินเป็นการประกันที่บริษัทผู้รับประกันภัยจะมีการทำสัญญายินยอมที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้เอาประกันภัย ในกรณีที่เกิดความเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เอาประกัน ได้แก่ 

  • การประกันอัคคีภัย
  • การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
  • การประกันภัยรถยนต์
  • การประกันภัยเบ็ดเตล็ดอื่นๆ

        ซึ่งเมื่อได้มีการทำประกันภัยเสร็จสิ้นแล้วก็จะได้รับกรมธรรม์เพื่อเอกสารยืนยันที่ใช้ในการทำเรื่องขอเคลมเมื่อเกิดเหตุการณ์ความเสียหาย หรือเมื่อเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ในความคุ้มครองที่ได้รับจากบริษัทประกันที่ได้ทำไว้นั่นเอง

การประกันภัยเกี่ยวกับความรับผิดตามกฎหมาย (Liability Insurance)

        ประกันภัยประเภทนี้จะเป็นการประกันภัยที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย ที่เกิดจากการประมาทเลินเล่อของผู้เอาประกันภัย บุคคลในครอบครัว หรือลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย เกิดการบาดเจ็บ เจ็บป่วย เสียชีวิต หรือทำให้ทรัพย์สินเกิดการเสียหาย ซึ่งสามารถแบ่งประเภทการประกันภัยเกี่ยวกับความรับผิดตามกฎหมาย แบ่งออกได้กว้างๆ ดังนี้

  • การประกันภัยความรับผิดต่อสาธารณะ (Public Liability Insurance)
  • การประกันภัยความรับผิดจากผลิตภัณฑ์ (Product Liability Insurance)
  • การประกันภัยความรับผิดจากวิชาชีพ (Professional Liability Insurance)

 

กรมธรรม์ประกันภัยคือ

 

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ คืออะไร

    หลังจากที่ได้รู้กันไปแล้วว่ากรมธรรม์ประกันภัยคืออะไร และในส่วนของรถยนต์ที่ทำประกันเอาไว้ก็ต่างมีเรื่องของกรมธรรม์ด้วยเช่นเดียวกัน โดยกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์เป็นข้อตกลงระหว่างผู้ที่ทำประกันกับผู้ที่รับทำประกัน ซึ่งจะมาในรูปแบบของหนังสือที่ใช้เป็นหลักฐานในการทำสัญญา โดยภายในประกอบไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ เช่น ความครอบคลุมของประกัน การเพิ่มและลดค่าเบี้ยประกัน การจ่ายค่าสินไหมทดแทน เป็นต้น ผู้เอาประกันจะต้องเก็บรักษากรมธรรม์เอาไว้กับตัวให้ดี เพื่อใช้เป็นหลักฐานในเวลาที่ต้องยื่นเรื่องเอาประกัน

 

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ มีกี่ประเภท

        ประกันภัยรถยนต์สามารถออกเป็น 2 ประเภท คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ที่จะเป็นที่รู้จักกันว่า พ.ร.บ. ซึ่งรถยนต์ทุกคันไม่ว่าจะเป็นประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันรถยนต์ชั้น 2+, ประกันรถยนต์ชั้น 3+ และประกันรถยนต์ชั้น 3 ก็ต้องทำประกันรถยนต์ประเภทนี้ ประกันรถยนต์ภาคบังคับจะเป็นการให้ความคุ้มครองแก่ร่างกาย ชีวิต และการรักษาต่างๆ ของผู้ที่ได้รับความเสียหายจากรถยนต์เท่านั้น โดยสามารถต่อพ.ร.บ. ได้หลังจากทำการเสียภาษีรถยนต์รายปีแล้ว

        และประกันภัยรถยนต์อีกประเภทก็คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ซึ่งนั่นก็คือการทำประกันภัยรถยนต์กับบริษัทประกันต่างๆ เพื่อจะได้รับความคุ้มครองตามทุนประกันที่ประกันภัยประเภทต่างๆ ให้ความคุ้มครอง

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ

        สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เป็นการตกลงกันระหว่างผู้เอาประกันและบริษัทประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองได้ตามความพึงพอใจ โดยที่ผู้เอาประกันจะไม่ได้ถูกบังคับทางกฎหมายแต่อย่างใด แต่สามารถเลือกทำได้ด้วยความสมัครใจ

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1

        กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 (Comprehensive) จะเป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองมากกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภทอื่นๆ โดยมีความคุ้มครองหลักครบทั้ง 4 ประเภท ดังนี้

  • ให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
  • ให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  • ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์
  • ให้ความคุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2

        กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 (Third Party Liability, Fire and Theft) เป็นกรมธรรม์ประกันภัยประเภทที่ประกันภัยรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองใกล้เคียงกับการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 แตกต่างเพียงไม่มีความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวของรถยนต์ โดยมีความคุ้มครองหลัก ดังนี้

  • คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
  • คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  • คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3

        กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 (Third Party Liability) เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองน้อยกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 และประเภท 2 โดยบริษัทประกันภัยจะให้ความคุ้มครอง และทำการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก ดังนี้

  • คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
  • คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4

        กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4 (Third Party Property Damage Only) ให้ความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น โดยคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก 100,000 บาทต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5

        กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 เป็นแบบคุ้มครองภัยเฉพาะที่พัฒนาใช้งานขึ้นมาในภายหลัง แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้

แบบประกัน 2 พลัส (2+)

        เป็นประกันให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 2 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้

  • คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
  • คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก
  • คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

แบบประกัน 3 พลัส (3+)

        เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 3 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้

  • คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
  • คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  • คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก

      และกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 ทั้งประกัน 2 พลัส และประกัน 3 พลัส ต้องมีเงื่อนไขในการเคลมประกันรถยนต์ ได้แก่ ต้องชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และจะต้องมีคู่กรณี ถ้าชนแล้วหนี หาพยานหลักฐานไม่ได้ จะไม่ได้รับความคุ้มครอง

 

ประกันรถยนต์ชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้นที่ 750 บาท

 

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ

      สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่รู้จักกว่า “พ.ร.บ.รถยนต์” จะให้ความคุ้มครองคนที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเกิดการเสียชีวิตที่เกิดเหตุจากรถยนต์ โดยทำการชดเชยค่าเสียหาย และดูแลค่ารักษาพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คู่กรณี หรือบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายจะได้รับความคุ้มครองจากพ.ร.บ.รถยนต์ ซึ่งพ.ร.บ.รถยนต์ หรือกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ จำเป็นจะต้องทำการต่อทุกปี หากฝ่าฝืนถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย  ซึ่งตัวพ.ร.บ.นี้นอกจากรถยนต์แล้ว รถประเภทอื่นๆ เช่น รถจักรยานยนต์ รถบรรทุก หรืออื่นๆ ก็จำเป็นจะต้องทำการต่อพ.ร.บ.ด้วยเช่นกัน พ.ร.บ.จะให้ความคุ้มครองใน 2 ส่วน คือ

1.คุ้มครองต่อค่าเสียหายเบื้องต้น

  • โดยไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายใดถูกผิด ให้ความคุ้มครองกับผู้ประสบเหตุทุกคนภายใน 7 วันหลังจากได้รับเอกสารครบถ้วน 
  • ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลตามการรักษาจริง ไม่เกินรายละ 30,000 บาท
  • ให้ความคุ้มครองค่าชดเชยกรณีสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือค่าปลงศพในกรณีเกิดการเสียชีวิต ไม่เกินรายละ 35,000 บาท
  • ให้ความคุ้มครองในกรณีที่เกิดการบาดเจ็บ และต่อมาเกิดการทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต สูงสุดไม่เกินรายละ 65,000 บาท

 

2.คุ้มครองค่าสินไหมทดแทน

  • คุ้มครองต่อผู้ประสบเหตุที่เป็นฝ่ายถูกที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว
  • ให้ความคุ้มครองในกรณีบาดเจ็บ คุ้มครองรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้น ไม่เกิน 80,000 บาท
  • ให้ความคุ้มครองกรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร คุ้มครองรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้น ไม่เกิน 200,000 – 500,000 บาท
  • ให้ความคุ้มครองกรณีทุพพลภาพถาวร หรือเกิดการเสียชีวิต คุ้มครองรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้น สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

 

ตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัย

 

ข้อมูลในกรมธรรม์ไม่ตรงมีผลอย่างไร

    สำหรับข้อมูลในกรมธรรม์ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะมีผลต่อการคุ้มครองและการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน หากต้องเจอกับปัญหาข้อมูลในกรมธรรม์ไม่ตรงหรือมีผิดพลาด ผู้เอาประกันไม่ควรปล่อยผ่านอย่างเด็ดขาด เพราะเมื่อไหร่ที่ผู้เอาประกันมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ควรรีบแจ้งไปยังบริษัทประกันให้ทราบในทันที รวมทั้งในกรณีที่เพิ่งได้รับกรมธรรม์ สิ่งแรกที่ควรตรวจสอบอย่างละเอียดคือข้อมูลส่วนตัว รายละเอียดความคุ้มครอง วงเงินคุ้มครอง และวันเริ่มต้นความคุ้มครอง เป็นต้น เพื่อให้ภายในกรมธรรม์มีข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน

 

หากกรมธรรม์หายมีผลอย่างไร

    ปัญหาของการหลงลืมเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ หากผู้เอาประกันทำกรมธรรม์สูญหายไม่ได้หมายความว่าความคุ้มครองของคุณจะสิ้นสุดลง เพราะทางบริษัทประกันภัยจะมีฐานข้อมูลของผู้เอาประกันอยู่แล้ว ดังนั้น จึงคลายความกังวลไปได้เลยว่าหากกรมธรรม์สูญหายก็จะถูกยกเลิกประกันภัย และถ้าหากต้องการกรมธรรม์ฉบับใหม่ก็สามารถแจ้งต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอเล่มใหม่ได้ทันที

 

สรุปกรมธรรม์ประกันภัยคืออะไร

        กรมธรรม์ประกันภัยเป็นสิ่งที่ใช้ระบุ และยืนยันรายละเอียดของตัวรถยนต์ ความคุ้มครองต่างๆ ที่จะได้รับเมื่อเกิดความอุบัติเหตุ หรือเกิดความเสียหาย ระบุความคุ้มครองต่างๆ ที่ให้การคุ้มครองที่ครอบคลุมตามประกันภัยรถยนต์แต่ละประเภทที่จะได้รับความคุ้มครองที่แตกต่างกัน ถือว่าเป็นเอกสารสำคัญในของการทำประกันภัยรถยนต์ ที่นอกจากจะระบุความคุ้มครองต่างๆ ที่จะได้รับแล้ว ก็ยังระบุถึงรายละเอียดต่างๆ ของตัวรถยนต์คันที่ทำประกัน เพื่อใช้ยืนยันในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุว่าเป็นรถยนต์คันเดียวกันหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นการทำประกันรถยนต์โดยตรงที่เคาน์เตอร์ของบริษัทประกัน หรือโบรกเกอร์ประกัน หรือจะเป็นการทำประกันออนไลน์ก็จะได้รับกรมธรรม์ที่จะต้องใช้เมื่อเคลมประกันอย่างแน่นอน

 


เขียนโดย : SILKSPAN SPECIALIST
เผยแพร่วันที่ : 26/09/2023
โปรโมชั่นแนะนำ
“เช็คเบี้ยกับเราซิคะ”