ประกันชั้น 1

“เติมลมไนโตรเจน” ดีกว่า “เติมลมแบบธรรมดา” จริงหรือ ?


ลมยางไนโตรเจนคืออะไร

จริงๆ แล้วลมยางทั่วไปซึ่งเป็นอากาศปกติอัดเข้าไปในยางรถยนต์ ซึ่งมีจุดให้บริการเติมลมฟรีกันตามปั๊มน้ำมันนั้น พื้นฐานโดยธรรมชาติมันก็มีส่วนผสมของไนโตรเจนอยู่แล้วถึง 78% ส่วนลมยางไนโตรเจน คือ การใช้ก๊าซไนโตรเจนซึ่งมีบริสุทธิ์ 93% มาเติมในยางรถยนต์แทนลมยางปกตินั่นเอง

 

ไนโตรเจนทำให้ยางระเบิดยากขึ้น

ไนโตรเจนทำให้ยางระเบิดยากขึ้น

ไนโตรเจนคือก๊าซสมบูรณ์ ไม่มีสารอื่นประกอบด้วย คงสภาวะเป็นก๊าซอยู่ตลอดเวลา ทำให้การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิน้อยมาก เวลารถวิ่งยางรถจะมีความร้อนสูงขึ้น แต่แรงดันภายในยางขณะวิ่งคงที่ ทำให้ล้อระเบิดยากขึ้น

ส่วนหากเป็นแบบธรรมดา มีการทดสอบแล้วว่าแรงดันภายในยางจะเพิ่มขึ้นประมาณ 3-10 psi ตัวอย่างเช่น หากคุณเติมลมยางประมาณ 30 psi (ค่ามาตรฐานของรถเก๋ง) หลังจากวิ่งทางไกล ลองเข้าไปที่เครื่องเติมลมวัดความดันดิจิตัล จะพบว่ายางมีความดันราว ๆ 33-36 psi

 

เติมไนโตนเจนแล้วยางอ่อนช้าจริงหรือ ?

เติมไนโตนเจนแล้วยางอ่อนช้าจริงหรือ

มีรายงานของ Consumer Reports ได้ทำทดลองเรื่องนี้ในยางหลายรุ่น แบ่งเติมฝั่งไนโตรเจนและลมธรรมดาให้แก่รถ โดยใช้มาตรฐานแรงดันที่ 30 psi ทดสอบ 1 ปี มีผลเฉลี่ยคือ ลมยางธรรมดาจะเสียแรงดัน 3.5 psi ส่วนไนโตรเจนจะเสียแรงดัน 2.2 psi ต่างกันเพียง 1.3 psi เท่านั้น

 

ประกันรถยนต์ชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้นที่ 750 บาท

 

เติมลมไนโตรเจนแล้วประหยัดน้ำมันขึ้นจริงหรือ ?

เติมลมไนโตรเจนแล้วประหยัดน้ำมันขึ้นจริงหรือ

เรื่องนี้ไม่จริง 100% เพราะการประหยัดน้ำมันขึ้น อยู่กับแรงดันของลมยางที่ต่ำกว่ามาตรฐาน EPA (U.S. Environmental Protection Agency) ได้มีผลทดสอบ เฉลี่ยรถจะสิ้นเปลืองน้ำมันมากขึ้นประมาณ 0.3% ทุกๆ ค่าแรงดัน 1 psi กับยางทั้ง 4 เส้น

เพราะฉะนั้นจะเติมลมหรือไนโตรเจนไม่มีผล ขอให้หมั่นตรวจเช็กแรงดันลมยางให้เท่าเดิม

 

ลมยางไนโตรเจนเติมเหมาะกับใคร ?

เดิมทีรถยนต์ที่ใช้ไนโตรเจนเติมลมยาง จะมีเพียงรถสูตร 1 (F1) เพราะจำเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิภายในยางอย่างละเอียดถี่ถ้วน เนื่องจากรถใช้ความเร็วสูงมาก และวิ่งติดต่อกันนาน ถ้าหากมีความร้อนสะสม ยางจะระเบิดเอาได้ง่ายๆ นอกนั้นจากไนโตรเจนยังใช้เป็นลมยางของเครื่องบิน เพราะต้องประสบกับภาวะที่เสี่ยงต่อการระเบิด เช่นการเร่งความเร็วเพื่อเทคออฟ หรือการรับน้ำหนักตัวเครื่องขณะร่อนลงจอด

สำหรับผู้ใช้ทั่วไปก็สามารถเติมได้ เนื่องจากไนโตรเจนมีความเสถียร ค่าความดันเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ผู้ที่ขับรถด้วยความเร็วสูงต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน เช่น การเดินทางข้ามต่างจังหวัดบ่อยๆ หรือผู้ที่ใช้รถบรรทุก และรถกระบะที่ต้องบรรทุกหนัก ส่งของทั้งในเมือง และนอกเมืองจะได้รับประโยชน์เต็มที่กับการเติมลมไนโตรเจน

แต่สำหรับผู้ที่ไม่เข้าข่ายนี้ก็สามารถใช้ได้ เพราะไนโตรเจนทำให้การขับขี่มีประสิทธิภาพขึ้นจริง อาจได้ประโยชน์ไม่เต็มที่ แต่ก็ไม่เป็นไรถ้าคุณพอใจที่จะจ่าย

 

เติมลมยางไนโตรเจน ต้องทำอย่างไรบ้าง ?

เติมลมยางไนโตรเจน ต้องทำอย่างไรบ้าง

วิธีการเติมจะปล่อยลมเก่าออกให้หมดทุกเส้น แล้วเติมไนโตรเจนเข้าไปจนเต็ม ปล่อยลมออกครั้งหนึ่งเพื่อไล่ลมเก่าออกให้หมด แล้วเติมไนโตรเจนอีกครั้ง วัดค่าความดันลมยางให้เหมาะสมเป็นอันเสร็จพิธี หลายร้านหลังจากเติมไนโตรเจนเสร็จแล้วจะเปลี่ยนฝาจุกลมยางของจุบเลสส์จากสีดำเป็นสีเขียว เพื่อบ่งบอกว่ารถคันนี้เติมลมไนโตรเจน ถ้าดูแล้วขัดตาบอกให้ร้านไม่ต้องเปลี่ยนก็ได้ ค่าบริการประมาณ 50 บาทต่อล้อ รวม 4 เส้น เป็น 200 บาท

 

เติมลมไนโตรเจน ผสมกับเติมลมยางธรรมดา จะเป็นอะไรไหม ?

สำหรับคนที่เติมลมไนโตรเจนแล้วมาเติมลมยางธรรมดาเข้าไปผสมด้วยกัน ไม่มีปัญหาหรือไม่เกิดผลเสียแน่นอน มันก็แค่กลายเป็นลมธรรมดา และคุณสมบัติของไนโตรเจนก็จะลดลงไปเท่านั้นเอง

 

AUTO ALERT - SILKSPAN

 

ตรวจสอบง่ายๆ ว่าใช่ไนโตรเจนแท้หรือเปล่า ?

เมื่อคนนิยมเติมลมไนโตรเจนมากขึ้น “ของปลอม” ก็ต้องเกิดขึ้นตามระเบียบ มีข้อสังเกตง่ายๆที่จะตรวจสอบว่าที่เติมเข้าไปเป็นไนโตรเจนปลอมแหงๆ

  1. หลังเติมไนโตรเจน ไม่รู้สึกแตกต่างในความนุ่มนวล และเสียงที่เงียบลง แม้เพียงนิด
  2. ความดันลมยางเพิ่มสูงขึ้นอย่างน้อย 3-4 psi เมื่อวิ่งระยะไกลด้วยความเร็ว
  3. ความดันลมยางลดลงภายใน 1-2 สัปดาห์

 

แต่ถ้าจะให้มั่นใจ ก่อนเติมควรตรวจสอบเครื่องหมายแสดงมาตรฐานอุตสาหกรรมบนเครื่อง จะได้ไม่ต้องหลงเสียเงินไปโดยใช่เหตุ

 

สรุป

ถ้าเทียบกันแล้วการเติมลมแบบธรรมดาที่ไม่ต้องเสียอะไรเลย กับเสียเงิน 200 บาท เพื่อเติมลมไนโตรเจน ดูจะแตกต่างกันมาก และหลายคนอาจตั้งคำถามว่าจำเป็นหรือไม่ ?

คำตอบ คือ ข้อดีของไนโตรเจน ตามหลักวิทยาศาสตร์แล้วมีแน่ แต่จะจำเป็น หรือคุ้มหรือไม่กับ 200 บาทที่ต้องจ่ายเพิ่ม อยู่ที่ความพึงพอใจ และการใช้งานของแต่ละตัวบุคคล ต้องทดลองใช้เอง


เขียนโดย : SILKSPAN ADVISOR
เผยแพร่วันที่ : 01/05/2022
โปรโมชั่นแนะนำ
“เช็คเบี้ยกับเราซิคะ”