เบี้ยดีโดนใจ ประกันภัยชั้น 1 เบี้ยเริ่ม 750 บาท/เดือน พิเศษรับส่วนลดสูงสุด 30% เช็กเบี้ยที่นี่ กับ SILKSPAN

ซื้อรถในนามบริษัท ดีจริงเหรอ ? นำรถมาใช้เป็นการส่วนตัวได้ไหม


ซื้อรถในนามบริษัท ดีจริงเหรอ ? นำรถมาใช้เป็นการส่วนตัวได้ไหม

สำหรับเจ้าของธุรกิจ ที่มีความจำเป็นจะต้องใช้รถยนต์เพื่อประกอบการดำเนินธุรกิจ การ “ซื้อรถในนามบริษัท” เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจเลยทีเดียว เพราะนอกจากเป็นการลงทุนเพื่อต่อยอดในทางธุรกิจแล้ว ยังสามารถนำเอาไปใช้เป็นรายจ่ายทางภาษีของธุรกิจได้อีกด้วย แต่ก็มีข้อสงสัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ลงบัญชีซื้อรถยนต์ในนามบริษัทยังไง ? ซื้อรถในนามบริษัทดีจริงไหม ? และ สามารถนำรถมาใช้เพื่อการส่วนตัวได้หรือไม่ ? ทุกข้อสงสัยมาหาคำตอบพร้อม ๆ กันได้ในบทความนี้

 

ซื้อรถในนามบริษัท คืออะไร ?

การซื้อรถในนามบริษัท หรือ ซื้อรถในนามนิติบุคคล เป็นการที่ “นิติบุคคล” ไม่ว่าจะเป็น บริษัทจำกัด หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด กระทำการซื้อรถยนต์ ไปจนถึงพาหนะในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อนำไปใช้สำหรับดำเนินธุรกิจ โดยกรรมสิทธิ์ของตัวรถจะเป็นของบริษัท ไม่ได้เป็นของบุคคลใดบุคคลหนึ่งภายในบริษัท อาทิเช่น บริษัท A ได้จัดซื้อรถตู้จำนวน 13 ที่นั่งสำหรับรับส่งพนักงาน หรือ บริษัท B ได้จัดซื้อรถบรรทุกสำหรับขนส่งสินค้า เป็นต้น

 

ถ้าจะซื้อรถในนามบริษัท ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ?

  • หนังสือรับรองบริษัท ซึ่งจะต้องออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีอายุใช้งานไม่เกิน 3 เดือน
  • ใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20)
  • บัตรประชาชน หรือ สำเนาทะเบียนบ้าน ของกรรมการบริษัท หรือ ผู้ที่มีอำนาจลงนามในบริษัทนั้น ๆ
  • เอกสารเกี่ยวกับเรื่องการเงินของบริษัท ในกรณีที่เป็นการซื้อรถโดยไม่ใช้เงินสด
  • บางกรณีอาจจำเป็นต้องใช้เอกสารมอบอำนาจของกรรมการบริษัท

ซื้อรถในนามบริษัท ดีจริงหรือไม่?

รถแบบไหนบ้าง ? ที่สามารถซื้อรถในนามบริษัทได้

เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการซื้อรถในนามบริษัท มีเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับกิจการของบริษัท ดังนั้นชนิดของรถยนต์จะต้องเหมาะกับการใช้งานภายในกิจการเท่านั้น ในส่วนนี้จะเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของการ “ลงบัญชีซื้อรถยนต์ในนามบริษัท” เนื่องจากมูลค่าของรถยนต์ สามารถนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ เพื่อสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีของธุรกิจได้ ไปดูกันเลยว่ารถประเภทไหนบ้าง ที่สามารถซื้อรถในนามนิติบุคคลได้บ้าง

  • รถยนต์ ไม่เกิน 10 ที่นั่ง

หากเป็นรถยนต์ที่มีการใช้งานทั่วไป เช่น รถซีดาน , รถ Eco Car , รถ SUV หรือ รถตู้ขนาดเล็กไม่เกิน 10 ที่นั่ง จะถูกเรียกกันว่า “รถยนต์นั่ง” ซึ่งเป็นรถสำหรับใช้งานโดยทั่วไป การซื้อรถในนามบริษัทจะยังสามารถทำได้อยู่ แต่จะมี “ข้อจำกัด” ในสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเยอะพอสมควร ซึ่งจะยื่นเป็นต้นทุนทางภาษีในค่าเสื่อมราคาได้เพียงไม่เกิน 1,000,000 บาท เท่านั้น

  • รถยนต์ เกิน 10 ที่นั่ง

ในกรณีที่เป็นรถยนต์เกินกว่า 10 ที่นั่ง อาทิเช่น รถกระบะ , รถบรรทุก หรือ รถตู้ที่มีมากกว่า 10 ที่นั่ง จะถูกจัดว่าไม่ได้เป็นรถยนต์นั่ง ซึ่งการซื้อรถในนามนิติบุคคลจะ “ไม่มีข้อจำกัด” ในด้านต้นทุนทางภาษี สามารถยื่นเป็นค่าใช้จ่ายตามมูลค่าจริงของตัวรถ พร้อมกับสิทธิประโยชน์ในด้านของภาษีซื้อ และ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับตัวรถหลาย ๆ อย่าง ก็สามารถนำไปลงบัญชีค่าใช้จ่ายได้

  • รถจักรยานยนต์

รถจักรยานยนต์ก็ถูกนับว่า เป็นอีกหนึ่งประเภทของรถสำหรับการใช้ภายในธุรกิจได้ ซึ่งสามารถซื้อรถในนามนิติบุคคล พร้อมกับยื่นหักค่าใช้จ่าย เป็นต้นทุนทางภาษีโดย “ไม่มีข้อจำกัด” ได้เช่นกัน แต่จะต้องเป็นการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเพียงเท่านั้น อาทิเช่น ธุรกิจที่มีบริการเดลิเวอรี่ , ใช้สำหรับพนักงานจัดส่งเอกสาร หรือ ธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่งพัสดุ เป็นต้น

ให้ประกันรถคุ้มครองทุกการเดินทาง ผ่อนประกันรถชั้น 1 0% ที่ SILKSPAN

ลงรายละเอียดค่าใช้จ่ายและภาษี อย่างไร ?

ประโยชน์ของการซื้อรถในนามบริษัท นอกจากจะเป็นการลงทุนต่อยอด เพื่อนำรถมาใช้งานภายในธุรกิจ ยังมีสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีที่ได้รับอีกด้วย แต่จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนทุกอย่างให้ถูกต้อง โดยเฉพาะในส่วนของประเภทของรถยนต์ ที่เราเพิ่งกล่าวถึงไปเมื่อหัวข้อก่อนหน้านี้ และอีกหนึ่งสิ่งสำคัญคือขั้นตอนของการลงบัญชีซื้อรถยนต์ในนามบริษัท ไปดูกันเลยว่ามีรายละเอียดจุดไหนที่ควรรู้กันบ้าง

  • ค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในภายหลังจากการซื้อรถในนามนิติบุคคล ถ้าเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถเพื่อประกอบกิจการ ไม่ว่าจะเป็น ค่าซ่อมบำรุง หรือ ค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ สามารถนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อลดหย่อนภาษีได้ รวมถึง ค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน ก็สามารถนำมาใช้ได้ในบางกรณี แต่จะต้องมีหลักฐานการใช้งานที่ชัดเจน

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม

สำหรับการซื้อรถในนามบริษัท เฉพาะรถยนต์ 10 ที่นั่ง จะสามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เต็มจำนวน โดยจะเป็นการใช้สิทธิประโยชน์จากภาษีซื้อ แต่จะต้องมีเอกสารสำคัญอย่าง “ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ” เป็นหลักฐานทุกครั้ง ส่วนจักรยานยนต์ อาจต้องมีการตรวจสอบเล็กน้อย ว่าใช้เฉพาะในธุรกิจจริง ถึงจะยื่นขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้

  • ค่าเสื่อมราคา

ยานพาหนะถือว่าเป็น “สินทรัพย์ถาวร” ในการลงบัญชีซื้อรถยนต์ในนามบริษัท จึงไม่สามารถคิดเป็นค่าใช้จ่ายในคราวเดียวได้ แต่จะเป็นการทยอยหักค่าเสื่อมราคาตามอายุการใช้งานสูงสุดที่ 5 ปี ยกตัวอย่างเช่น รถบรรทุกมีมูลค่า 5,000,000 บาท ก็จะแบ่งหักค่าเสื่อมสภาพเป็นระยะเวลา 5 ปี ได้ปีละ 1,000,000 บาท เป็นต้น

**เกร็ดความรู้เพิ่มเติม**

ค่าใช้จ่ายข้างต้นที่เรากล่าวถึง จะคิดเฉพาะกรณีของรถยนต์ที่ไม่ใช่ รถยนต์นั่งเท่านั้น เพราะรถยนต์นั่ง หรือ รถยนต์ไม่เกิน 10 ที่นั่ง จะไม่สามารถหักค่าใช้จ่าย ค่าซ่อมบำรุง ค่าน้ำมัน รวมทั้ง ภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ และ ค่าเสื่อมราคาก็คิดได้แค่สูงสุดในมูลค่า 1,000,000 บาท เท่านั้น

 

ซื้อรถในนามบริษัทแล้วเอามาใช้ส่วนตัวได้หรือไม่ ?

หากยึดตามข้อกฎหมายแล้ว เมื่อซื้อรถในนามบริษัทก็ต้องใช้ในการดำเนินธุรกิจเพียงเท่านั้น ไม่สามารถนำมาใช้เพื่อการส่วนตัวได้ ยกเว้นการใช้งานเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น เนื่องจากรถจะถูกนับว่าเป็น “ทรัพย์สินบริษัท” หากมีการตรวจสอบแล้วพบว่า มีการนำเอารถยนต์ที่ซื้อในนามนิติบุคคลไปใช้งานส่วนตัว อาจส่งผลเสียในภายหลัง อาทิเช่น การถูกตรวจสอบจากกรมสรรพากร , ไม่สามารถยื่นเป็นต้นทุนทางภาษีได้ และ อาจส่งผลต่อเรื่องของประกันภัยรถยนต์ เนื่องจากใช้รถผิดวัตถุประสงค์ของการใช้งาน

 

รถที่ซื้อในนามบริษัท รถเชิงพาณิชย์ ทำประกันรถยนต์แบบไหนดี ?

ในการซื้อรถในนามบริษัท จะถือว่าเป็น “รถยนต์ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์” ในการทำประกันภัยรถยนต์ อาจจะแตกต่างจากที่เราคุ้นเคยเล็กน้อย เพราะรถยนต์ที่เราใช้กันโดยทั่วไป จะเป็น “รถยนต์ส่วนบุคคล” ดังนั้นอาจจะต้องมองหาแผนประกันภัยรถยนต์ ที่รองรับรถยนต์ในเชิงพาณิชย์โดยเฉพาะจะดีที่สุด โดยในบริษัทประกันชั้นนำ ต่างก็มีแผนสำหรับรถยนต์พาณิชย์ให้เลือกหลายแบบ อาทิเช่น แผนประกันภัยสำหรับรถบรรทุก , แผนประกันภัยสำหรับรถตู้ทึบ , แผนประกันสำหรับรถตู้เชิงพาณิชย์ หรือ แผนประกันสำหรับรถกระบะบรรทุก เป็นต้น

 

สรุป

สำหรับข้อสงสัยที่ว่า การซื้อรถในนามบริษัทดีไหม ? ก็สามารถสรุปได้เลยว่า “เป็นเรื่องดี” เพราะสามารถนำเอามูลค่าของรถยนต์ ไปใช้สำหรับการลดหย่อนภาษีของธุรกิจได้ แต่ไม่สามารถนำรถมาใช้งานเป็นการส่วนตัวได้ สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใด กำลังมองหา “ประกันภัยรถยนต์” สำหรับใช้กับรถภายในบริษัท SILKSPAN ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มากกว่า 25 ปี พร้อมมอบข้อเสนอที่ดีที่สุดให้กับคุณ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรอกข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้านล่างบทความนี้ทิ้งเอาไว้ แล้วเราจะรีบดำเนินการติดต่อกลับไปโดยเร็วที่สุด


เขียนโดย : SILKSPAN ADVISOR
เผยแพร่วันที่ : 01/05/2025
รับข้อเสนอพิเศษ

จองสิทธิ์ประกันรถยนต์

ประกันรถยนต์ รับส่วนลดสูงสุด 30% กว่า 20 บริษัทชั้นนำ

  1. ต่ออายุล่วงหน้า รับส่วนลดเพิ่ม สูงสุดกว่า 500 บาท
  2. ผ่อนบัตรเครดิต ผ่อนเงินสด ได้สูงสุด 10 เดือน
  3. ฟรีบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชม.
  4. ฟรีรถใช้ระหว่างซ่อม หรือ เบิกค่าเดินทาง 1,000 บาท

กรอกข้อมูล เพื่อ “รับข้อเสนอพิเศษ” ต่อประกันรถยนต์

taff-call
“เช็คเบี้ยประกันรถฟรี 24 ชม.”
line

กำลังโหลด