ขาดต่อประกันอยู่หรือไม่ ต่อประกันกับ SILKSPAN ลุ้นรับ voucher จาก BigC มูลค่า 100 บาท

หัวเสียบเข็มขัดนิรภัยหลอก ใช้งานง่าย แต่อันตรายกว่าที่คุณคิด


หัวเสียบเข็มขัดนิรภัยหลอก อันตรายที่คุณคาดไม่ถึง

เข็มขัดนิรภัยหลอกคืออะไร

        เข็มขัดนิรภัย (Safety Belt) เป็นอุปกรณ์ที่มีไว้สำหรับป้องกันความปลอดภัยให้คนขับ และผู้โดยสารในยานพาหนะ โดยไม่ให้ผู้โดยสารถูกเหวี่ยงกระเด็นจากที่นั่งเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เป็นอุปกรณ์ที่ไว้รักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐานที่มีติดมาให้กับรถยนต์ทุกคันเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยที่ถูกกำหนด และตรวจสอบจากองค์กรมาตรฐานสากล และกรมการขนส่งเพื่อให้มีความปลอดภัยทุกครั้งในการขับขี่ เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น การใช้งานเข็มขัดนิรภัยให้ถูกต้องจะช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ หากเราทำการออกรถโดยไม่คาดเข็มขัดนิรภัย หรือรถยนต์แล่นในความเร็ว 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถโดยทั่วไปจะมีการแสดงสัญญาณเตือนไม่คาดเข็มขัดนิรภัยที่หน้าปัด และในรถยนต์บางรุ่นก็มีการเตือนในรูปแบบของเสียงควบคู่กันไปด้วย

        ในปัจจุบัน หัวเสียบเข็มขัดนิรภัยหลอก หรือ ตัวหลอกเบลท์หลอก อุปกรณ์เสริมที่กำลังเป็นนิยมกันอย่างแพร่หลาย เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเหมือนหัวเสียบนิรภัยของจริง แต่ไม่มีสายคาดที่อาจสร้างความน่ารำคาญใจในขณะใช้งานอยู่ มักใช้เพื่อเป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับตัดเสียงเตือน ไฟกะพริบเตือน หรือสัญญาณเตือนต่างๆ ในตอนที่เราไม่คาดเข็มขัดนิรภัย อุปกรณ์ที่ผู้ขับขี่หลายคนอาจเลือกใช้ด้วยความรู้สึกสะดวก ไม่ต้องการคาดเข็มขัดนิรภัย โดยคิดว่าขับในระยะทางที่ใกล้ หรือเราเองมีประสบการณ์การขับขี่ที่เชี่ยวชาญ และสามารถขับขี่ได้อย่างปลอดภัยแน่นอน ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด และประมาทมากในการขับขี่ เป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่ และผู้โดยสารอย่างไม่รู้ตัว เนื่องจากสายคาดนิรภัยมีหน้าที่คอยป้องกันร่างกายของผู้ใช้งานเมื่อเกิดอุบัติเหตุเพื่อให้ร่างกายไม่ได้บาดเจ็บรุนแรง หรือกระเด็นพุ่งตัวออกไปจากรถยนต์ ซึ่งอุปกรณ์ตัวนี้ถูกออกแบบมาเพื่อตัดความรำคาญ และสร้างนิสัยการขับขี่ที่ไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นเมื่อเกิดความประมาทในการคาดเข็มขัดนิรภัยแล้ว ก็อาจจะทำให้มีโอกาสเกิดความประมาทในการขับขี่ และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุ และการบาดเจ็บเพิ่มมากขึ้น

 

เหตุผลที่หลายคนเลือกใช้ “หัวเสียบเข็มขัดนิรภัยหลอก” แทนการ “คาดสายคาดนิรภัย”

1.คิดว่าเป็นการเดินทางในระยะทางที่ใกล้

        หลายคนคิดว่าการเดินทางในระยะทางที่ใกล้ เช่น การเดินทางเพื่อไปทำธุระ ซื้อของ หรือทำงานในสถานที่ที่ใกล้บ้าน มีการเดินทางที่บ่อย และคิดว่าตัวเองเป็นคนที่ชำนาญทางแล้ว และคิดว่าในระยะการเดินทางแค่ไม่กี่กิโลนี้เป็นเส้นทางที่ใช้งานประจำจึงอาจเลือกใช้หัวเสียบเข็มขัดนิรภัยหลอก แทนการคาดเข็มขัดนิรภัยจริงๆ ด้วยความประมาทอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุแบบไม่คาดคิด เนื่องจากอุบัติเหตุมักจะมาจากเหตุการณ์ที่เราคาดไม่ถึง หรือความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่อยู่เสมอ

2.รำคาญเสียงเตือน สัญญาณเตือน

        สำหรับผู้ขับขี่ในบางราย อาจรำคาญเสียงสัญญาณเตือน ไฟกะพริบ หรือไฟสัญญาณเตือนที่ขึ้นโชว์ในคอนโซลที่มีการแจ้งเตือนในรถยนต์หลายรุ่น และในบางรถยนต์บางรุ่นก็อาจมีร้องเตือนจนกว่าเราจะคาดเข็มขัด หรือร้องเตือนนานเป็นระยะเวลาหนึ่ง เมื่อไม่ต้องการคาดเข็มขัดนิรภัย และเสียงทำให้เกิดความรำคาญใจ จึงเลือกใช้หัวเสียบหลอกเพื่อเป็นการตัดเสียงที่น่ารำคาญนี้ที่เกิดขึ้น

3.คิดว่าเป็นคนที่ขับขี่ปลอดภัย เชี่ยวชาญ

        เมื่อผู้ขับขี่มีความมั่นใจในประสบการณ์การขับขี่ รวมไปถึงเส้นทางที่ใช้งาน เนื่องจากมีการใช้งานเป็นประจำ หรือมีประสบการณ์สูงในการขับขี่ หรืออาจจะเป็นคนที่คิดว่าตัวเองเป็นคนที่ขับรถช้า ขับไม่เร็ว ขับแบบรักษากฎจราจรอยู่ตลอดเวลา หรืออาจเป็นเส้นทางที่รถติดอยู่เสมอ จึงเกิดความชะล่าใจ และประมาทในการคาดเข็มขัด ที่อาจสร้างความอึดอัดในขณะขับขี่ หรือโดยสารรถอยู่ จึงเลือกใช้งานหัวเสียบนิรภัยหลอกนี้เพื่อจัดการกับปัญหาเรื่องเสียง และความไม่ต้องการคาดเข็มขัด  แต่ในความเป็นจริงแล้วอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นถนนที่รถสัญจรน้อย รถติด หรือรถแล่นช้า ถึงแม้ว่าเราจะเป็นคนที่มีสมาธิ และความเชี่ยวชาญในการขับขี่มากแค่ไหน ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่ร่วมสัญจรอยู่บนถนนจะมีความชำนาญ และขับขี่อย่างปลอดภัยอยู่เสมอ

4.เกิดความอึดอัดในระหว่างที่คาด 

        หลายคนอาจรู้สึกอึดอัดในช่วงเวลาที่ต้องคาดเข็มขัด อาจมีความรู้สึกว่าขยับตัวลำบาก ไม่ว่าจะเป็นคนที่ตัวเล็กเกินไป หรือตัวใหญ่เกินไปก็อาจเคยพบปัญหาเมื่อสายคาดเข็มขัดนิรภัยรู้สึกไม่พอดีตัว และสายคาดอยู่ในตำแหน่งที่รัดบนตัวแล้วนั่งไม่สบาย จึงเลือกที่จะใช้หัวเสียบนิรภัยหลอกในการจัดการกับความรำคาญของเสียง และสัญญาณเตือนที่เกิดขึ้น

 

แจกคู่มือใบขับขี่ใหม่ สอบผ่านในรอบเดียว

 

ใช้หัวเสียบเข็มขัดนิรภัยหลอกอันตรายถึงชีวิต

อันตรายอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้งานหัวเสียบนิรภัยหลอก

        จากเหตุผลในข้างต้นเมื่อเราลองมาคิดทบทวน และชั่งน้ำหนักให้ดี เราอาจจะพบว่าความจริงแล้วอุบัติเหตุเกิดขึ้นง่ายกว่าที่คิด แม้ว่าเราจะขับขี่ดีแค่ไหน แต่ยังไงก็ยังมีโอกาสเกิดอุบัติขึ้นจากปัจจัยอื่นอยู่ดี ลองมาดูอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเราใช้งานหัวเสียบเข็มขัดนิรภัย แทนการคาดสายคาดนิรภัยจริงๆ

ความรุนแรงที่เกิดขึ้น

        การคาดเข็มขัดนิรภัยจะช่วยลดความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุลงได้ ช่วยลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บทั่วไป 40-50% ลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บสาหัส 43-65% และลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้ถึง 40-60% เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ แรงกระแทกที่เกิดจากการขับขี่ ในความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถสร้างความเสียหายได้เท่ากับการตกจากที่สูง 14 เมตร หรือเทียบเท่ากับตึก 5 ชั้น ลองคิดภาพดูว่าถ้าเราเกิดอุบัติเหตุ และเลือกใช้งานหัวเสียบเข็มขัดนิรภัยหลอกแทนการคาดเข็มขัดนิรภัยจะได้รับความรุนแรงแก่ร่างกายของเรามากน้อยแค่ไหน

        เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการไม่คาดเข็มขัดนิรภัยเมื่อขับขี่ หรือโดยสารรถยนต์อาจก่อให้เกิดความรุนแรง หรือการสูญเสียที่อาจจะมากกว่าที่คิด ความรุนแรงนี้ยังส่งผลให้เกิดทำให้เกิดความบาดเจ็บต่างๆ ซึ่งอาจเป็นผลกระทบที่รุนแรงต่อร่างกายและสุขภาพของผู้ขับ และผู้โดยสาร รวมไปถึงการเกิดความเสียหายทางรถยนต์เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นการใช้งานหัวเสียบเข็มขัดนิรภัยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการลดความรุนแรงและความเสียหายในกรณีเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน

การบาดเจ็บ และความเสียหาย

        การไม่คาดเข็มขัดนิรภัย จะทำให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บและความเสียหาย ทั้งทางทรัพย์สินในรถยนต์ รถยนต์ และรวมไปถึงผู้โดยสาร และผู้ใช้งานรถยนต์ที่อาจเสียชีวิต หรือเกิดความบาดเจ็บที่รุนแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ การใช้หัวเสียบเข็มขัดนิรภัยหลอกแทนการคาดเข็มขัดนิรภัยจะทำให้ตัวเรา และผู้โดยสารไม่ที่คาดเกิดอันตรายขึ้นได้ทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เมื่อรถวิ่งไปบนถนน ตัวเราที่อยู่ในรถจะมีความเร็วเท่ากับตัวรถ เมื่อรถหยุดเคลื่อนที่ ตัวของเราที่ไม่มีสายคาดนิรภัยรั้งไว้จะสามารถทำให้ร่างกายของเราเกิดการกระเด็น และกระแทกกับพวงมาลัยรถ ตัวรถ หรือกระจกหน้ารถ ในกรณีที่ร้ายแรงที่อาจมีการพลิกคว่ำที่รุนแรง ตัวเราอาจถูกเหวี่ยง และกระเด็นออกมานอกรถได้ ซึ่งอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บมากขึ้น อาจทำให้อวัยวะทั้งภายนอก และภายในของเราเกิดการบาดเจ็บมากขึ้น และอาจนำไปสู่การเสียชีวิต  ดังนั้นการใช้งานหัวเสียบเข็มขัดนิรภัยเป็นสิ่งที่สำคัญ และควรให้ความสำคัญในการลดการบาดเจ็บ และความเสียหายในกรณีเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน

 

ใช้หัวเสียบนิรภัยหลอกผิดกฎหมายหรือไม่

        การใช้หัวเสียบเข็มขัดนิรภัยหลอกแทนการคาดเข็มขัด เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายเทียบเท่าการขับขี่โดยไม่คาดเข็มขัดนิรภัย โดยเฉพาะรถยนต์ 4 ประตูส่วนบุคคล มีความผิดตามมาตรา 44 ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาทในกรณีที่ผู้ขับขี่ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และปรับไม่เกิน 500 บาท สำหรับผู้โดยสารตอนหน้าที่ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และหากผู้ขับขี่ไม่จัดให้ผู้โดยสารคาดเข็มขัดนิรภัย ถูกปรับเพิ่มอีก 500 บาท และในปัจจุบันกฎหมายจราจรฉบับล่าสุดได้ระบุเพิ่มโทษกรณีที่ผู้โดยสารตอนหลังไม่คาดเข็มขัดนิรภัยไม่เกิน 2,000 บาท และรวมสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท

        สำหรับผู้ใช้งานหลายคนที่อาจจะเลือกความสะดวกสบาย หรือความสวยงามในการใช้งานหัวเสียบเข็มขัดนิรภัย ลองกลับมาคิดถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเรา อุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นตลอดเวลา ถึงแม้ว่าเราจะมีประกันภัยรถยนต์แล้วก็ตาม ก็ควรมองความปลอดภัยของเรา และผู้ที่โดยสารที่มาด้วยเป็นหลัก หากเกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงแล้ว เราก็ไม่อาจกลับไปแก้ไขอดีตได้ ดังนั้นควรขับขี่อย่างปลอดภัย และปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด

 


เขียนโดย : Ecomoney
เผยแพร่วันที่ : 27/07/2023
รับข้อเสนอพิเศษ
  1. ส่วนลดสูงสุด 30%
  2. แบ่งจ่ายได้สูงสุด 10 เดือน (บัตรเครดิต และเงินสด)
  3. บริการเสริมช่วยเหลือฉุกเฉิน และเบิกค่าเดินทาง
  4. บริการเปรียบเทียบเบี้ยประกันจากบริษัทประกันกว่า 20 แห่ง

กรอกรายละเอียดเพื่อรับข้อเสนอจากพนักงานของเรา

“เช็คเบี้ยประกันรถฟรี 24 ชม.”

กำลังโหลด